แนะควรปรับกรอบหลักเกณฑ์ใหม่ เพื่อลดหนี้สาธารณะที่เกินจากรัฐ
Mthai News โครงการ รับจำนำราคาข้าว กลายเป็นนโยบายที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด และเป็นประเด็นร้องแรงขึ้นมาทันทีเมื่อ นายอดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
นำรายชื่ออาจารย์นิด้า อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักศึกษา 146 รายชื่อ ยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำวินิจฉัยยับยั้งหรือยุติโครงการรับจำนำข้าว ของรัฐบาล เพราะส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวได้น้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา และรัฐบาลทำตัวเป็นผู้ผูกขาดค้าข้าว เกิดผลกระทบต่อพ่อค้าคนกลาง
ขณะที่เกิดเสียงต้านจากชาวนาที่เห็นว่า นโยบายดังกล่าวให้ผลประโยชน์กับชาวรากหญ้าได้ลืมตาอ้าปาก สามารถปลดหนี้ มีความมั่งคั่งขึ้น จึงเกิดการถกเถียงกันว่า โครงการรับจำนำข้าวแท้จริงแล้วให้ผลดีอย่างไร และจะก่อให้เกิดความเสียหาย เปิดช่องให้มีการทุจริตหรือๆไม่อย่างไร
ประเด็นนี้ ถูกหยิบยกมาพูดคุยในวงสนทนาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับรัฐบาล หากยังคงมีการเดินหน้ารับจำนำข้าว บางส่วนมองว่าการต่อสู้ถกเถียงในเรื่องนี้ เป็นเรื่องของการต่อสู้ของชนชั้นกลางกับรัฐบาล
อ.ณรงค์ เพ็ชรประเสิริฐ อาจารย์ประจำหลักสูตร เศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเคลื่อนไหวดังกล่าวถือว่า เป็นสัญญาณเตือนจากคนชนชั้นกลาง ที่เริ่มไม่พอใจ และได้รับผลกระทบทางอ้อมจากโครงการรับจำนำข้าว
เช่นปัญหาราคาสินค้า และบริการแพงขึ้น จึงขอให้รัฐบาลปรับเกณฑ์การรับจำนำข้าวทุกเมล็ดเป็นรับจำนำเฉพาะเกษตรกรรายย่อย หรือมีเนื้อที่ปลูกข้าวไม่เกิน 10 ไร่ เพื่อลดภาระงบประมาณและการก่อหนี้สาธารณะ ซึ่งเป็นต้นทุนการเงินของรัฐ ที่จะผลักไปยังประชาชน และหากยังคงเดินหน้าต่อไป อาจเกิดการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลจากชนชั้นกลาง
“หากชนชั้นกลางลุกขึ้นมา รัฐบาลคงอยู่ไม่รอด เพราะถึงจะชนะถล่มทลายอย่างไรก็ตาม แต่กลไกที่คุณใช้ก่อผลกระทบต่อคนอีกส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะคนชั้นกลาง ถ้าเขาลุกมาเมื่อไหร่คุณอยู่ไม่รอดหรอก ” อ.ณรงค์ กล่าว
Mthai News
〕〕
未经允许不得转载:综合资讯 » อ.จุฬา เตือน หากรัฐยังเดินหน้าจำนำข้าว เจอคนชั้นกลางจะลุกฮือต่อต้านแน่