综合资讯
当前位置:综合资讯 > 资讯 > 泰国新闻 > 正文

อย.เพิ่มมาตรการตรวจอาหารทะเล ปริมาณรังสียังปกติ

อย.เพิ่มมาตรการตรวจอาหารทะเล ปริมาณรังสียังปกติ

"จุรินทร์" เผย อย.ตรวจอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่นอย่างเคร่งครัด สัปดาห์หน้าเตรียมออกประกาศเพิ่มเติมเรื่องใบรับรองจากประเทศต้นทาง ขณะที่สำนักปรมาณูฯ เผยปริมาณรังสีแกมมาในอากาศยังอยู่ในระดับปกติ…

เมื่อวันที่ 2 เม.ย. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นโดยเคร่งครัด เพราะฉะนั้นหากผ่านกระบวนการตรวจสอบจาก อย. แล้วก็มั่นใจได้ โดยเฉพาะอาหารทะเลที่ อย.ใช้วิธีการสุ่มตรวจ ส่วนผักผลไม้ พืชหัว เช่น มันเทศ จะตรวจทุกรายการ

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 เม.ย.ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ออกตรวจพื้นที่ที่จำหน่ายด้วย ไม่ได้ตรวจเฉพาะด่านนำเข้าแต่อย่างเดียว และขอความร่วมมือสำหรับผู้นำเข้ามารับประทานเอง ต้องระมัดระวังควรนำมาตรวจรังสีก่อน เพราะบางครั้งนำเข้ามาแล้วไม่แจ้ง อาจจะไม่ทราบ แต่ว่า อย.เคร่งครัด และภายในสัปดาห์หน้าคาดว่า จะมีการออกประกาศเพิ่มเติมในเรื่องการมีใบรับรองจากประเทศต้นทาง เช่น ในการนำเข้าอาหารทะเล ผักผลไม้ทั้งหมดจากญี่ปุ่น ต้องมีใบรับรองปลอดจากรังสีตามเกณฑ์ที่ อย.กำหนด ไม่ว่าจะเป็นซีเซียม 134 (Caesium-134) ซีเซียม 137 (Caesium-137) หรือไอโอดีน 131 (Iodine-131) โดยจะแถลงความคืบหน้าให้ทราบในสัปดาห์หน้า

วันเดียวกัน เว็บไซต์ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ได้สรุปสถานการณ์จากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือไอเออีเอ (IAEA) วันที่ 30-31 มี.ค. และวันที่ 1 เม.ย. (00.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ทางทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือไอเออีเอ ได้มีแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมา ไดอิจิ สรุปได้ ดังนี้

ไอเออีเอ ได้รับข้อมูลจากหลายหน่วยงานของประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านทางแหล่งข้อมูลอย่างเป็นทางการ คือ ทบวงการความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์และอุตสาหกรรม (Nuclear and Industrial Safety Agency) จากข้อมูลที่รายงานพบว่า สถานการณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมา โรงที่ 1-4 ยังคงมีการฉีดน้ําจืดไปที่ถังปฏิกรณ์แรงดันอย่างต่อเนื่อง อุณหภูมิในถังปฏิกรณ์แรงดันของโรงที่ 1 อยู่ในระดับประมาณ 150-300 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงที่สุดในบรรดา 4 โรง ส่วนโรงที่ 2 และ 3 อุณหภูมิปฏิกรณ์แรงดันอยู่ที่ 60-160 องศาเซลเซียส ความดันในถังปฏิกรณ์แรงดันของโรงที่ 1 อยู่ที่ประมาณ 2.5-5.5 atm และของโรงที่ 2 และ 3 คงที่อยู่ที่ประมาณ 1 atm มีกลุ่มควันสีขาวออกจากโรงที่ 2 และ 3 จากรายงานเมื่อวันที่ 29 มี.ค. เวลา 06.00 น.(ประเทศไทย)  

ส่วนโรงที่ 4 มีการเทน้ําไปที่บ่อเก็บแท่นเชื้อเพลิงใช้แล้วอย่างต่อเนื่อง สําหรับโรงที่ 5 และ 6 เครื่องปฏิกรณ์อยู่ในสภาวะดับสนิทแล้ว กระแสไฟฟ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หน่วยที่ 1-4 มีการดําเนินการกู้แหล่งผลิตไฟฟ้าจากภายนอกที่ต่อจากระบบสายส่งไฟฟ้าไปยังโรงไฟฟ้า มีการจ่ายไปที่อุปกรณ์และเครื่องมือบางชนิดที่หน่วยที่ 1, 2 และ 4 แล้ว และกําลังมีการตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าในแต่ละส่วนก่อนที่จะจ่ายกระแสไฟฟ้า ส่วนหน่วยที่ 5 และ 6 มีกระแสไฟฟ้าจากภายนอกกลับคืนไปที่หม้อแปลงไฟฟ้าแล้ว และกําลังเตรียมการต่อไปที่ส่วนต่างๆ ของโรงไฟฟ้า น้ําในอาคารกังหันปั่นไฟของโรงไฟฟ้าหน่วยที่ 1, 2, 3 มีระดับรังสีสูง  นอกจากนี้ พบว่าน้ําที่ขังอยู่ในคูน้ําระหว่างอาคารกังหันปั่นไฟและทะเลมีระดับรังสีสูง ซึ่งจะทําการสูบน้ําเหล่านี้ไปยังอาคารเก็บกากกัมมันตรังสีต่อไป

สำหรับข้อมูลการสะสมกัมมันตรังสีในจังหวัดต่างๆ ยังคงมีการวัดรังสีอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค.ที่ผ่านมา ระดับรังสีลดลงอย่างต่อเนื่อง มีข้อมูลระดับรังสีจาก 7 จังหวัด ได้แก่ ชิบะ กุมมะ อิบารากิ คานากาวะ ไซตะมะ โตชิงิ และโตเกียว โดยระดับการปนเปื้อนของทั้ง ไอโอไดน์ 131(I-131) และซีเซียม 137 (Cs-137)  เมื่อวันที่ 30 มี.ค. ต่ำกว่า 30 เบคเคอเรลต่อตารางเมตร

ทบวงการฯ ได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญไปเฝ้าระวังระดับรังสีในญี่ปุ่น 2 ทีม เมื่อวันที่ 30 มี.ค. ทีมที่หนึ่งวัดปริมาณรังสีในกรุงโตเกียว จํานวน 7 จุด พบว่าระดับรังสีอยู่ระหว่าง 0.03 และ 0.28 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ซึ่งถือว่าสูงกว่าปริมาณรังสีพื้นหลังเพียงเล็กน้อย ทีมที่สองวัดปริมาณรังสีในแถบเมืองฮิโรโนะ จํานวน 7 จุด ซึ่งอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาไปทางใต้ ประมาณ 23-39 กิโลเมตร พบระดับรังสีอยู่ที่ 0.5-4.9 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง โดยการปนเปื้อนบนพื้นรวมทั้งรังสีแกมมาและเบตา อยู่ที่ 40,000-340,000 เบคเคอเรลต่อตารางเมตร

ส่วนการวัดปริมาณรังสีแกมมาในอากาศในประเทศไทย เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 2 เม.ย. กรุงเทพฯ พบ 0.046 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง เชียงใหม่พบ 0.051  ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ขอนแก่น พบ 0.056 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง สงขลา พบ 0.051 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง อุบลราชธานี พบ 0.071 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ตราด ระนอง ไม่พบ และพะเยา พบ 0.155 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ซึ่งทั้ง 8 จังหวัดปริมาณรังสี ปกติ.

未经允许不得转载:综合资讯 » อย.เพิ่มมาตรการตรวจอาหารทะเล ปริมาณรังสียังปกติ

赞 (0)
分享到:更多 ()