综合资讯
当前位置:综合资讯 > 资讯 > 泰国新闻 > 正文

นับถอยหลังยุบสภา!

นับถอยหลังยุบสภา!

"ยุบสภาแล้วไปเลือกตั้งใหม่" ตั้งแต่สัปดาห์นี้ ประโยคดังกล่าวเชื่อว่าจะได้ยินจนติดหูคนไทยมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ มากกว่าช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หากยังไม่ได้เห็นพระราชกฤษฎีกายุบสภาจากรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ออกมาป่าวประกาศให้สังคมไทยได้รับรู้มาตลอดว่าจะยุบสภาไม่เกินวันที่ 6 พ.ค.นี้ หรือภายในสัปดาห์แรกของเดือนพ.ค.
หลายคนก็อาจคิดว่ายังไว้วางใจไม่ได้

นับถอยหลังยุบสภา!

ที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ชัดว่า มีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องยังออกมาตั้งข้อสงสัย ทั้งพรรคและกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล อย่างพรรคเพื่อไทย และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ว่าจะมีการเลือกตั้งจริงหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์สู้รบ มีปะทะกันระหว่างทหารไทย-กัมพูชา บริเวณชายแดน จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากทั้ง 2 ฝ่าย ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณแนวพรมแดนหลายหมื่นคนต้องอพยพได้รับความเดือดร้อน ตั้งแต่วันที่ 24เม.ย.ที่ผ่านมา ก็ยิ่งเป็นปมคาใจที่สนับสนุนว่า รัฐบาลจะกล้าตัดสินใจยุบสภาให้มีการเลือกตั้งได้จริงหรือไม่ ? เพราะต้องยอมรับว่า ประเทศชาติยังคงอยู่ในช่วงหน้าสิ่วหน้าขวาน มีศึกมาประชิดชายแดน การที่รัฐบาลจะประกาศยุบสภา ก็มีคำถามตามมาว่า เหมาะสมหรือไม่
ทั้งนี้ มีความพยายามทั้งที่มาจากฝ่ายสนับสนุนนัฐบาล ให้เลื่อนวันประกาศยุบสภาออกไปจากกำหนดเดิม และฝ่ายที่ต้องการให้มีการยุบสภาตามกำหนดเวลาเดิม นั่นคือภายในวันที่ 6 พ.ค.ที่จะถึงนี้

นับถอยหลังยุบสภา!

ดังนั้นผู้ที่ต้องตัดสินใจว่าจะยังดำเนินการประกาศยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือจะอ้างเหตุความไม่สงบจากการปะทะสู้รบกันกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเลื่อนกำหนดวันประกาศยุบสภาออกไป จะเป็นบุคคลไปไม่ได้ นอกจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แต่เพียงผู้เดียว ที่ถือดาบ อำนาจการยุบสภาอยู่ในมือ จะเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะคงความมุ่งมั่นเดิมที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้อีกหรือไม่อย่างไร (ที่แสดงออกก่อนหน้านี้ก็มีความชัดเจนว่ายุบแน่ๆ)
มาถึงนาทีนี้ โอกาสที่การเมืองจะเกิดการพลิกกลับแบบ 180 องศา ไม่มีการเลือกตั้ง ยอมรับว่าคงเป็นไปได้ยาก นอกจากจะต้องเกิดอุบัติเหตุทางการเมือง แบบที่เรียกว่าต้องปฏิวัติยึดอำนาจเท่านั้น แม้แต่กรณีการอ้างว่า ประเทศยังอยู่ในภาวะไม่ปกติ เนื่องมีปัญหาความรุนแรงอยู่บริเวณแนวชายแดน จึงไม่ควรที่จะยุบสภาในตอนนี้นั้น เท่าที่ดูจากกระแสก็คงจะเป็นการยากที่จะทำให้เกิดขึ้น เพราะไม่อย่างนั้น นายอภิสิทธิ์อาจถึงขั้นเสียคนได้ เพราะที่ผ่านมา ทั้งยืนยัน นั่งยัน และแทบจะนอนยันถ้าทำได้ ว่าจะยุบสภาภายในสัปดาห์แรกของเดือนพ.ค. ดังนั้นหากไม่จำเป็นก็คงไม่อยากเสียคำพูดสุภาพบุรุษ

นับถอยหลังยุบสภา!

ด้าน รศ.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานดำเนินงานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กล่าวกับทีมข่าว "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า การจะยุบสภาหรือไม่ ยอมรับว่ามีความคาดหวังของประชาชนสูง นายกฯเองเชื่อว่าไม่กล้าตัดสินใจจะไม่ยุบ กลัวกระแสตีกลับ แต่ถ้ายุบสภาแล้วเป็นรัฐบาลรักษาการ แน่นอนอำนาจการบริหารก็ไม่เต็มที่ อย่าลืมว่าถ้ายุบสภาแล้ว อำนาจนิติบัญญัติไม่มี รัฐสภาก็ไม่มี จะเรียกประชุมสภาภาวะฉุกเฉินเพื่อระดมความคิดเห็น ก็ไม่ได้ หรือต้องการถามสภาเกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนก็ยิ่งยาก อำนาจการต่อรองก็ลดน้อยลง ดังนั้นโอกาสที่นายกฯจะตัดสินใจไม่ยุบสภาก็มีความเป็นไปได้

นับถอยหลังยุบสภา!

ทั้งนี้การที่จะตัดสินใจไม่ยุบสภา ก็ต้องมีเหตุผลที่สมควร อาทิ มีการปะทะกันชนิดเป็นสงครามใหญ่เต็มรูปแบบ ถ้าการเมืองไทยจะใช้เหตุผลนี้ในการที่จะยืดอายุของรัฐบาลออกไป เชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ก็ยอมรับได้ แต่ต้องเป็นความจริง หากเป็นเกมการเมืองที่มีการสร้างสถานการณ์ของฝ่ายการเมืองบางคน ที่ต้องใช้คำว่าอุตริ ก็คงไม่มีใครยอมรับได้ ผมเองก็ไม่เห็นด้วยที่ถึงขนาดเอาประเทศชาติเป็นเดิมพัน หากมีฝ่ายใดต้องการเอาเกมนี้มาเล่น จะเพราะต้องการเอาใจทหาร ความได้เปรียบฝ่ายตัวเอง หรือจะอะไรก็แล้วแต่มาเป็นเครื่องต่อรองก็ลำบาก ดังนั้นการที่นายกฯได้ประกาศให้มีการยุบสภาในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนพ.ค.แล้วนั้น หากจะเปลื่ยนแปลงก็คงลำบาก

นับถอยหลังยุบสภา!

"ดังนั้นเงื่อนไขที่จะทำให้ไม่มีการยุบสภาในตอนนี้ ก็เหลือเพียงการปฏิวัติรัฐประหารเท่านั้น แต่เหตุผลก็เหลือเพียงเรื่องของการประเทศถูกรุกล้ำอำนาจอธิปไตยว่า ประเทศถูกโจมตีต้องใช้ไม้แข็ง ฉะนั้นทหารประกาศกฎอัยการศึกในเขตที่มีปัญหา คือบริเวณชายแดนที่มีการปะทะระหว่างไทย-กัมพูชา ก็เหมือนกับการปฏิวัติ ต้องการให้ประเทศเกิดความมั่นคง ถ้าสังเกตให้ดี ตอนนี้เริ่มมีการจับสปายที่เป็นผู้ใหญ่บ้านจำนวน 3 คนยอมรับว่าส่วนตัวรู้สึกกลัวที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปฏิวัติ เพื่อหวังให้เลื่อนการยุบสภาออกไป เพราะมันไม่ง่ายเกินไปหรือที่คนไทยจะขายชาติ และก็จับสปายได้ เพราะตอนนี้ต้องยอมรับว่าอำนาจทหารไม่ได้แค่ต่อรองทางการเมืองเท่านั้น ยังเป็นการต่อรองเรื่องความมั่นคงด้วย เรื่องประชาชนพุ่งเป้าไปที่การป้องกันเขตแดน สังเกตว่าทหารมีอำนาจต่อรองมากขึ้นในเรื่องการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ อาทิ เรื่องเรือดำน้ำ ถึงแม้ไม่เข้าสภา แต่ก็เห็นแนวโน้มแล้ว" รศ.สุขุม กล่าว

นับถอยหลังยุบสภา!

รศ.สุขม กล่าวอีกว่า ไม่อยากให้มีการสร้างสถานการณ์ เพราะจะเกิดการสูญเสีย ส่วนตัวเห็นว่าตอนนี้คนไทยบางกลุ่มใจดำ เหมือนต้องการให้มีการสร้างสถานการณ์ให้กลุ่มตนได้ประโยชน์เท่านั้น อำนาจมันไม่เข้าใครออกใคร ทั้งนี้เชื่อว่าการเมืองเดินหน้าเข้าสู่โหมดการเลือกตั้งแน่ ทางที่จะไม่ให้เกิดการยุบสภา เหลือเพียงหนทางสุดท้ายคือการปฏิวัติรัฐประหารเท่านั้น

นับถอยหลังยุบสภา!

สุดท้าย คงตัองวัดใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ว่า จะยังยืนยันในเป้าหมายเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง รวมไปถึงทนแรงเสียดทานทางการเมือง และฝ่าฟันไปถึงวันที่ตัวเองตั้งใจไว้แต่เดิมหรือไม่ ซึ่งนับจากวันนี้ก็เหลือเวลาอีก 4 วันเท่านั้น

未经允许不得转载:综合资讯 » นับถอยหลังยุบสภา!

赞 (0)
分享到:更多 ()