อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
“ผมมีคำตอบในใจแล้ว” คำพูดที่เหมือนเป็นเค้าลาง หลังจากประกาศยอมรับความพ่ายแพ้ในฐานะเป็นผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ นำพาพรรคไปถูกเพื่อไทยถลุงแพ้น็อคแบบหมดรูป ซึ่งที่สุดคำพูดปริศนาดังกล่าว ก็ได้รับการเฉลย หลังผ่านไปชั่วข้ามคืน โดยเจ้าตัวออกมาประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตามที่ลั่นวาจาไว้ก่อนหน้านี้ ว่า หาก นำ ส.ส.เข้าสภาได้ต่ำกว่า 170 ก็จะขอลาออก
อย่างไรก็ดี เชื่อว่าที่สุดแล้ว ที่ประชุมใหญ่พรรคประชาธิปัตย์ ก็คงจะเลือกให้รีเทิร์นกลับมาทำหน้าที่หัวหน้าพรรคที่เก่าแก่ที่สุด อีกครั้ง เพราะคนที่มีเพาเวอร์ในพรรคส่วนใหญ่ยังให้การสนับสนุน อีกทั้งเมื่อใช้สายตามองกราดไปทั่วพรรคแล้ว ก็คงไม่มีใครที่มีคุณสมบัติครบถ้วน หรือมีจิตใจแข็งแกร่งสู้หนุ่มรูปหล่อคนนี้ได้ เพราะต้องไม่ลืมว่า ตลอด 2 ปี ในฐานะนายกรัฐมนตรี ของหนุ่มคนนี้ เค้าคือคนที่ต้องทนแบกรับเรื่องกดดันทั้งหลายที่ประดังประเดเข้ามาถล่มพรรคประชาธิปัตย์ แต่เพียงผู้เดียวมาตลอด จนแทบกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความเกลียดชัง ของกองเชียร์พรรคคู่แข่ง
ก็ได้แต่หวังใจไว้ว่า หนุ่มอนาคตไกล ที่ประกาศจะขอเป็นนายกรัฐมนตรี เพียง 2 สมัย เพราะกลัวตัวเองจะเสพติดอำนาจ คงจะไม่ถอดใจละทิ้งการเมืองไว้เบื้องหลังเสียก่อน
เพราะต้องไม่ลืมว่า หากไม่ใช่คู่แข่งที่คนไกลจากต่างประเทศ จะกริ่งเกรงแล้วไซร้ คงไม่จ้องจะหาทางดีสเครดิตและเล่นเกมแรงบี้หนักมาตลอดเกือบ 2 ปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน
ชื่อ-สกุล : อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ชื่อเล่น : มาร์ค
นามแฝง/ฉายา : โอบามาร์ค
วันที่เกิด : 3 สิงหาคม 2507
ประวัติครอบครัว :
– บิดา : ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ
– มารดา : ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ
– เป็นบุตรคนเล็ก ในจำนวนพี่น้อง 3 คน
ชื่อพี่น้อง
– 1. ศ.พญ.อลิสา เวชชาชีวะ สมรสกับ นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ มีบุตรชาย 2 คน
1. นายพศุตม์ วัชรสินธุ (อะตอม)
2. นายพริษฐ์ วัชรสินธุ (ไอติม)
– 2. น.ส.งามพรรณ เวชชาชีวะ
– 3. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับ ผศ.ดร.ทพญ.พิมพ์เพ็ญ ศกุนตาภัย (แตงโม) สมรส ปี 2531
มีบุตร-ธิดา 2 คน ชื่อ
1. น.ส.ปราง เวชชาชีวะ (มะปราง)
2. นายปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ (น้องปัณณ์)
การศึกษา และดูงาน :
– ปี 2549
ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
– ปี 2533
ปริญญาโท เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ (นักเรียนทุนของมหาวิทยาลัย)
– ปี 2531
ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
– ปี 2529
ปริญญาตรี สาขาปรัชญาการเมือง และเศรษฐศาสตร์ (PPE) (เกียรตินิยมอันดับ 1) มหาวิทยาลัย ออกซ์ฟอร์ด
– ปี 2525
มัธยมศึกษาที่ Eton College ประเทศอังกฤษ
– ปี 2519
ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ
ตำแหน่งปัจจุบัน :
– 5 มีนาคม 2548
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
– 23 ธันวาคม 2550
ส.ส. ระบบสัดส่วน กลุ่ม 6 พรรคประชาธิปัตย์
– 17 ธันวาคม 2551
นายกรัฐมนตรี คนที่ 27
การทำงาน และตำแหน่งหน้าที่ :
– 2530-2531
อาจารย์ประจำ (ยศร้อยตรี) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า(จปร.)เขาชะโงกจังหวัดนครนายก
– 2532
อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– 22 มีนาคม 2535
ส.ส. กทม. เขต 6 พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 1
– 13 กันยายน 2535
ส.ส. กทม. เขต 6 พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 2 (ยุบสภา 19 พ.ค.2538)
– 13 ตุลาคม 2535
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ลาออก 13 ต.ค.2537)
– 19 ตุลาคม 2535
กรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
– 15 ตุลาคม 2535
กรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน
– 25 ตุลาคม 2535
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐบาล นายชวน หลีกภัย)
– 16 ธันวาคม 2537
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง
– 2 กรกฎาคม 2538
ส.ส. กทม. เขต 5 พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 3 (ยุบสภา 27 ก.ย.2539)
– 8 สิงหาคม 2538
ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา
– 17 พฤษภาคม 2539
กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
– 17 พฤศจิกายน 2539
ส.ส. กทม. เขต 5 พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 4
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
– 19 ธันวาคม 2539
กรรมาธิการการเศรษฐกิจ
– 14 พฤศจิกายน 2540
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
– 6 มกราคม 2544
ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคประชาธิปัตย์ (สมัยที่ 5)
– 20 เมษายน 2546
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
– 10 กุมภาพันธ์ 2548
รักษาการ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
– 6 กุมภาพันธ์ 2548
ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคประชาธิปัตย์
– 5 มีนาคม 2548
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
– 23 เมษายน 2548
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
– 23 ธันวาคม 2550
ส.ส. ระบบสัดส่วน กลุ่ม 6 พรรคประชาธิปัตย์ 2 กลุ่ม 6 ( กทม.นนทบุรี, สมุทรปราการ)
– 27 กุมภาพันธ์ 2551
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
– 17 ธันวาคม 2551
นายกรัฐมนตรี คนที่ 27
อื่น ๆ : ผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)
︽︽
未经允许不得转载:综合资讯 » อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ