综合资讯
当前位置:综合资讯 > 资讯 > 泰国新闻 > 正文

แผนที่ไทย-ฝรั่งเศส แผนทางสู่สงคราม

แผนที่ไทย-ฝรั่งเศส แผนทางสู่สงคราม

อดีต​นายกรัฐมนตรี พล.อ.​ชาติ​ชาย ชุณหะ​วัณ ผุด​เอา​นโยบาย “เปลี่ยน​สนาม​รบ​เป็น​สนาม​การ​ค้า” ยัง​ผล​ให้การ​สู้​รบ​ตาม​แนว​ชาย​แดน​ไม่​เกิด การ​ทำ​มา​ค้าขาย​กับ​ประเทศ​เพื่อนบ้าน​ก็​คึกคัก

แม้​เขตแดน​ยัง​ไม่​ชัดเจน แต่​ด้วย​การ​สาน​สัมพันธ์​กับ​ประเทศ​เพื่อนบ้าน​ดี ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ไทย​กับ​มาเลเซีย พม่า ลาว และ​กัมพูชา ทุก​ทิศ​เรียกได้​​ว่า​สงบ​สุข แต่​เมื่อ​การเมือง​ใน​ประเทศ​กัมพูชา​และ​ไทย​เล่น​กัน​แรง แนวรบ​ด้าน​กัมพูชา​จึง​เ​กิด​ขึ้น โดย​อาศัย​เชื้อ​ดั้ง​เดิม​ที่​มอด​ไป​แล้ว แต่​ยัง​ไม่​ดับ​สนิท​ดี นั่น​คือ​ปัญหา​เรื่อง​เขตแดน

แนว​ตะเข็บ​แดน​ไทย​กัมพูชา เรา​มี​ด้าน​เดียว​แต่​มี​แผนที่​กัน​คน​ละ​ฉบับ

ปูม​ปัญหา เกิด​ขึ้น​มา​ตั้งแต่​สมัย​นัก​ล่า​อาณานิคม​ฝรั่งเศส เข้า​มา​กระ​ชับ​พื้นที่​กัมพูชา​ที่​มี​สยาม​เข้าไป​มี​อิทธิพล​ทางการ​ปกครอง​อยู่ การ​เข้า​มา​ของ​ฝรั่งเศส​อย่าง​เป็น​รูปธรรม​เกิด​ขึ้น​เมื่อ​วัน​ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2406 คือ​วัน​ที่​องค์​พระ​นโรดม​พรหม​บ​ริ​รักษ์ พระ​มหา​กษัตริย์​แห่ง​กัมพูชา ทำ​สนธิสัญญา​กับ​แม่ทัพ​ฝรั่งเศส เปิด​ทาง​ให้​ฝรั่งเศส​เข้า​มา​ดูแล​ประเทศ​กัมพูชา

ใน​สนธิสัญญา​ข้อ​ที่ 16 ระบุ​ว่า “เจ้า​กรุง​ฝรั่งเศส​ไว้​เจ้า​เมือง​เขมร​เป็น​เจ้า​จริงๆก็​สัญญา​จะ​ช่วย​ให้​ได้​เป็น​ไป​ตรี​ราบคาบ​ใน​นคร​เมือง​เขมร แล้ว​ช่วย​ทำนุบำรุง​เมือง​เขมร​ไม่​ให้​มี​สัตรู​แต่​เมือง​อื่น​มา​กฎ​ขี่​เบียดเบียน เจ้า​ฝรั่งเศส​มี​ใจ​ซื่อตรง จะ​ช่วย​ให้​เจ้า​เมือง​เขมร​ชัก​ภาษี​จาก​ลูกค้า​วานิช​แล้ว​ใช้​ใบ​ไป​ทะเล”

ความ​โดย​สรุป​ของ​สัญญา​ข้อ​ที่ 16 และ​ข้อ​อื่นๆใน​สัญญา​ฉบับ​นี้​ก็​คือ ฝรั่งเศส​เข้า​มา​ดูแล​เขมร​นั่นเอง

ผล​จาก​สนธิสัญญา ทำให้​ฝรั่งเศส​เข้า​มา​ดูแล​และ​จัดการ​เรื่องราว​ภายใน​กัมพูชา​เนื่องจาก​สมัย​นั้น​สยาม​ยัง​เข้าไป​มี​อิทธิพล​ต่อ​กัมพูชา​เป็น​อย่าง​สูง แถม​เมือง​ใน​มณฑล​บูรพา คือ พระ​ตะบอง เสียม​รา​ฐ และ​ศรี​โสภณ สยาม​ยัง​มี​เจ้าพระยา​อภัย​ภูเบ​ศร​ไป​ดูแล​อยู่

แผนที่ไทย-ฝรั่งเศส แผนทางสู่สงคราม

การ​เข้าไป​ดูแล​นี้ สืบ​เนื่อง​กัน​มา​ตั้งแต่​รัชกาล​ที่ 1 แห่ง​ราชวงศ์​จักรี เรื่อย​มา​สิ้นสุด​ใน​สมัย​รัชกาล​ที่ 5

เจ้าพระยา​อภัย​ภูเบ​ศร​เป็น​ชื่อ​ตำแหน่ง คน​แรก​ชื่อ​จริง​คิือ แบน

เมื่อ​ฝรั่งเศส​เข้า​มา​มี​อิทธิพล​ใน​กัมพูชา​แล้ว​ก็​เริ่ม​กระชับ​พื้นที่ สยาม​ไม่​อาจ​เลี่ยง​ความ​สั่น​สะเทือน​ได้ แรง​สั่น​สะเทือน​แรก​ที่​แรง​ที่สุด​คือ ฝรั่งเศส​นำ​เรือรบ​เข้า​มา​ปิด​อ่าว เมื่อ พ.ศ.2436 ใน​แผ่นดิน​รัชกาล​ที่ 5 เหตุการณ์​ครั้ง​นั้น​เรียก​กัน​ว่า วิกฤตการณ์ รศ.112

หลัง​วิกฤตการณ์ สยาม​ใน​นาม​พระ​ราช​อาณาจักร​สยาม กับ​ฝรั่งเศส​ใน​นาม​อินโดจีน​ฝรั่งเศส ได้​ทำ​สนธิสัญญา​ร่วม​กัน​ใน​เรื่อง​เขต​การ​ครอบครอง นำ​มา​ซึ่ง​การ​จัด​ทำ​แผนที่ เบื้อง​แรก​กำหนด​คร่าวๆก่อน สืบ​มา​ค่อย​สำรวจ​และ​จัด​ทำ​หลัก​เขตแดน

เรื่อง​เขตแดน​ที่​ชัดเจน เพิ่ง​มา​เกิด​ขึ้น​สมัย​นัก​ล่า​อาณานิคม​เข้า​มา ก่อน​หน้า​นั้น​ไม่​มี​เขตแดน​ที่​แน่นอน การ​ตั้ง​คณะ​กรรมการ​เขตแดน​ชุด​แรก​และ​ครั้ง​แรก​ใน​สยาม​ก็​คือ ทำ​กัน​ระหว่าง​สยาม​กับ​อินโดจีน​ฝรั่งเศส เกิด​ขึ้น​หลังจากสนธิสัญญา​ฉบับ​วัน​ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446 คือ​หลังจาก​วิกฤตการณ์ รศ.112 เป็น​เวลา 10 ปี

เบื้องต้นกำหนด​ให้​มี​ประธาน​ทั้ง​สอง​ฝ่าย​คือ พล​ตรีหม่อม​ชาติ​เดชอุดม เป็น​ประธาน​ฝ่าย​สยาม และ พัน​เอก​แบร์​นา​ร์ด เป็น​ประธาน​ฝ่าย​ฝรั่งเศส คณะ​กรรมการ​ชุด​นี้​เรียก​ว่า คณะ​กรรมการ​ผสม​ชุด​แรก

ผล​งาน​ที่​คณะ​กรรมการ​ชุด​นี้​ทำ​ไว้​คือ สำรวจ​ภูมิประเทศ เพื่อ​เป็น​ไป​ตาม​หลักการ​ของ​การ​ปัก​ปัน​เขตแดน​ซึ่ง​เป็น​เรื่อง​ใหม่​ของ​สยาม ทำให้​เกิด​แผนที่ “คร่าวๆ” ขึ้น​มา แต่​ยัง​ไม่​เป็น​เขตแดน​สมบูรณ์ เพราะ​ยัง​ไม่ได้​ทำ​เครื่องหมาย​ใดๆไว้

แผนที่​ผล​งาน​ของ​คณะ​กรรมการ​ผสม​ชุด​แรก​นี้ เป็น​แผนที่​มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 และ​เป็น​แผนที่​ที่​ยัง​ไม่ได้​ระบุ​เส้น​เขตแดน​แน่นอน ชัดเจน

สืบ​มา​ปี พ.ศ.2451-2452 คณะ​กรรมการ​ผสม​ชุด​ที่​สอง อาศัย​เค้า​แผนที่​ของ​คณะ​กรรมการ​ผสม​ชุด​แรก​เป็น​แนวทาง ดำเนิน​การ​ตาม​ขั้น​ตอน​ปัก​ปัน​เขตแดน โดย​เดินทาง​ลงพื้น​ที่ ทำ​เครื่องหมาย​ให้​เป็น​รูปธรรม โดย​บาก​ไว้​บน​ต้นไม้​ใหญ่ และ​สร้าง​หลัก​เขตแดน​ชั่วคราว​ไว้​เป็น​หมุด​หมาย​สำคัญ

แผนที่ไทย-ฝรั่งเศส แผนทางสู่สงคราม

การ​ปัก​เขตแดน หลัก​แรก​เริ่ม​ต้น​ที่​ช่อง​ส​งำ จังหวัด​ศรีสะเกษ มุ่ง​ไป​ทาง​ทิศ​ตะวัน​ตก​ตาม​แนว​เทือกเขา​พนม​ดง​รัก ลาก​ยาว​ไป​ยัง​เทือกเขา​บรรทัด​ลง​ไป​ทาง​ทิศ​ใต้ ไป​สิ้นสุด​ที่​หลัก 73 บริเวณ​รอย​ต่อ​ระหว่าง​บ้าน​หาด​เล็ก อำเภอ​คลอง​ใหญ่ จังหวัด​ตราด กับ​บ้าน​จาม​เ​ยี​ยม จังหวัด​เกาะ​กง ของ​กัมพูชา

เมื่อ​เครื่องหมาย​เขตแดน​ที่​ทำ​ไว้​ชำรุด ทั้ง​ไทย​และ​กัมพูชา​จึง​ทำ​หลัก​เขตแดน​ขึ้น​มา​ใหม่ เป็น​หลัก​คอนกรีต​มั่นคง​ถาวร เมื่อ พ.ศ. 2462 หลัก​เขต​ชุด​นี้​เอง​ที่คน​ไทย​กลุ่ม​หนึ่ง​เดินทาง​ไป​ดู แล้ว​ถูก​กัมพูชา​จับ​ตัว​ไป 7 คน

ครั้น​เกิด​สงครามโลก​ครั้ง​ที่ 2 ขึ้น ฝรั่งเศส​ที่​ปกครอง​กัมพูชา​อยู่​เกิด​ความ​อ่อนแอ รัฐบาล​ไทย​สมัย​นั้น​เห็น​เป็น​โอกาส จึง​บุก​เข้าไป​ยึด​ดิน​แดน​กัมพูชา​ที่​เคย​ปกครอง​อีก​ครั้ง ใน​ปี พ.ศ.2484 แต่​เข้าไป​ปกครอง​ได้​ไม่​นาน​ก็​ต้อง​คืนให้​ฝรั่งเศส​ไป เมื่อ​สงครามโลก​สิ้นสุด​ลง

หลัง​กัมพูชา​ได้​รับ​เอกราช​จาก​ฝรั่งเศส เกิด​ปัญหา​ภายใน​ประเทศ​อย่าง​หนัก มี​การ​แบ่ง​เป็น​ฝ่าย​ต่าง ๆ รบ​พุ่ง​กันเอง ทหาร​กัมพูชา​ส่วน​หนึ่ง​อาศัย​แนว​ตะเข็บ​แดน​ไทย​เป็น​ที่​อิง​และ​สร้าง​ฐาน ระหว่าง​สู้​รบ​กัน​นั้น มี​การ​โยกย้าย​หลัก​เขต​เพื่อ​พราง​ศัตรู ทำให้​หลัก​เสียหาย ชำรุด และ​บาง​หลัก​หาย​ไป

เมื่อ​ฝ่าย​พอล​พต ยึด​อำนาจ​ได้​ปี พ.ศ.2518 ปกครอง​อยู่​ได้​ไม่​นาน​ก็​ถูก​ฝ่าย​เฮง​สัม​ริน โดย​ความ​ช่วยเหลือ​ของ​เวียดนาม​ยึด​อำนาจ​ได้​ใน​ปี พ.ศ.2522 หลังจาก​นั้น บ้านเมือง​กัมพูชา​ก็​กลับ​มาส​งบ​สุข​อีก​ครั้ง

แต่​หลัก​เขตแดน​ที่​ทำ​ไว้​นั้น​หา​ปกติ​ไม่ มี​การ​ชำรุด​และ​เสียหาย​ไป​เป็น​จำนวน​มาก ทำให้​เกิด​ปัญหา​ตาม​มา​คือ ความ​ไม่​ชัดเจน​ใน​เรื่อง​เขตแดน

แต่​ปัญหา​ระหว่าง​ไทย​กับ​กัมพูชา​ก็​ยัง​ไม่​เกิด​ขึ้น เนื่อง​จาก​รัฐบาล​ทั้ง​สอง​ฝ่าย​ตระหนัก​ใน​สร้อย​สัมพันธ์​อัน​ดี มี​นโยบาย​เอื้อ​ไมตรี​กัน​เสมอ​มา ที่​ชัดเจน​คือ​นโยบาย​เปลี่ยน​สนาม​รบ​เป็น​สนาม​การ​ค้า ของ​คณะ​รัฐบาล​พล.อ.​ชาติ​ชาย ชุณ​หะวัณ

แม้​จะ​อยู่ร่วม​กัน​อย่าง​สงบ​สุข แต่​ทั้ง​ไทย​และ​กัมพูชา​ต่าง​ตระหนัก​ร่วม​กัน​ว่า ถ้า​ปล่อย​ให้​หลัก​หาย ชำรุด ต่อ​ไปย่อม​ไม่​เกิด​ผล​ดี​ต่อ​ประเทศ​ทั้ง​สอง​แน่ ใน​ปี พ.ศ.2540 รัฐบาล​ไทย​และ​กัมพูชา​จึง​เห็น​พ้อง​ต้อง​กัน​ว่า ให้​มี​การ​ตั้ง​คณะ​กรรมาธิการ​ร่วม​ไทย–กัมพูชา​ขึ้น​มา เพื่อ​จัดการ​ปัญหา​ให้​สิ้น​ไป

แผนที่ไทย-ฝรั่งเศส แผนทางสู่สงคราม

คณะ​กรรมาธิการ​นี้ ฝ่าย​ไทย​มี​รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​การ​ต่าง​ประเทศ​เป็น​ประธาน เพื่อ​รับผิดชอบ​การ​สำรวจ​และ​จัด​ทำ​หลัก​เขตแดน​ร่วม​กัน มี​ผล​ให้​ต่อ​มา​มี​การ​บันทึก​ความ​เข้าใจ (เอ็ม​โอ​ยู) ว่า​ด้วย​การ​สำรวจ​และ​จัด​ทำ​หลัก​เขตแดน​ทาง​บก เมื่อ​วัน​ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2543 เพื่อ​กำหนด​กรอบ​ทาง​กฎหมาย​ใน​การ​สำรวจ และ​จัด​ทำ​เขตแดน​ทาง​บก​ให้​เรียบร้อย

แต่​ระหว่าง​คณะ​กรรมการ​ปัก​ปัน​เขตแดน​ทำ​งาน​อยู่ เกิด​เหตุการณ์​ไม่​พึง​ประสงค์​ขึ้น เมื่อ​กัมพูชา​ยื่น​ขอ​จดทะเบียน​ปราสาท​พระ​วิหาร ​เป็น​มรดก​โลก ทั้งๆที่​ตัว​ปราสาท​พระ​วิหาร​เป็น​ของ​กัมพูชา​อย่าง​เป็น​ทางการ​ไป​แล้ว อย่าง​น้อย​ก็​ตั้งแต่​วัน​ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2505 วัน​ที่​ศาลโลก​ตัดสิน

แต่​ด้วย​การ​ใช้​เส้น​เขตแดน​มา​ใช้​โค่น​ล้ม​กัน​ทางการ​เมือง​ของ​ทั้ง​ฝ่าย​กัมพูชา​และ​ไทย เรื่อง​เขตแดน​และ​แผนที่​ที่​มี​ปัญหา แต่​อยู่​กัน​มา​อย่าง​ปกติ​สุข ก็ได้​กลาย​เป็น​ปัญหา​ขึ้น​มา​อย่าง​รุนแรง

การ​นำ​เอาเรื่อง​เขตแดน​หรือ​แผนที่​ไป​เล่น​การเมือง ทำให้​ผล​ที่​ตาม​มา​ก็​คือ ทหาร​ต้อง​บาดเจ็บ​ล้ม​ตาย ชาว​บ้าน​ที่​ไม่​มี​ผล​ได้​ใดๆทางการ​เมือง​ต้อง​มา​หลบ​กระสุนปืน สะเก็ด​ระเบิด

แผนที่​แทนที่จะ​ช่วย​ให้​ยุติ​ข้อ​ขัดแย้ง กลาย​เป็น​เส้นทาง​ทอด​สู่​สงคราม ยัง​ความ​เดือดร้อน​ให้​กับ​ประชาชน​ทั่ว​ตะเข็บ​แดน.

未经允许不得转载:综合资讯 » แผนที่ไทย-ฝรั่งเศส แผนทางสู่สงคราม

赞 (0)
分享到:更多 ()