ม็อบชาวนา VS อาจารย์นิด้า กับนโยบายจำนำราคาข้าว ใครได้ใครเสีย
เกิดเป็นกระแสต่อต้านจากกลุ่มชาวนา ที่รวมตัวประท้วงนักวิชาการ หน้าสถาบันนิด้า ที่เข้ามาป่วนโครงการรับจำนำข้าว พร้อมกับปิดถนนมิตรภาพชั่วคราวเมื่อวันที่ 3 ต.ค.ที่ผ่านมา จากกรณีที่นายอดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) นำรายชื่ออาจารย์นิด้า อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักศึกษา 146 รายชื่อ ยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำวินิจฉัยยับยั้งหรือยุติโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล
โดยกลุ่มชาวนา(อีสานล้านนา )พร้อมเครือข่ายเกษตรกรชาวนาจังหวัดนครราชสีมา ไม่พอใจที่นักวิชาการ นิด้าออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านโครงการรับจำนำข้าว โดยระบุว่า การกระทำของนักวิชาการ หรือคณาจารย์นิด้า นั้นขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 43 และ 81 ( 1 ) เป็นการแสดงออกของบุคคลชนชั้นระดับสูงกว่าชนชั้นรากหญ้า ที่มักจะมองไม่เห็นความเดือดร้อนของพี่ น้อง ชาวนา
“เป็นคำถามต่อการเคลื่อนไหวล้มล้างนโยบายนี้ว่า ท่านมีพื้นฐานความคิดทางการเมืองเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลนี้ ที่ชนะการเลือกตั้งโดยเสียงส่วนใหญ่ของประเทศและท่านเป็นฐานสนับสนุนพรรคคู่แข่งของรัฐบาลนี้ใช่หรือไม่ ? เพราะรัฐบาลก่อนหน้านี้ซึ่งแพ้การเลือกตั้ง แต่จัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหารได้สำเร็จ ได้บริหารประเทศโดยมีแนวทางและนโยบายทีสร้างความเสียหายต่อสาธารณะ และการทุจริตที่เป็นคดีความมากมาย แต่ท่านไม่เคยมีปฏิกิริยาใด ๆ ทั้งสิ้น “ส่วนหนึ่งของเนื้อหาแถลงการณ์ของเครือข่ายชาวนา
กลุ่มของชาวนามองว่า นักวิชาการนิด้า ขัดขวางการทำงานของรัฐบาลที่ดูแลผลประโยชน์ของชาวนาไม่ให้โดนเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางและเอกชนที่กดขี่ข่มเหงชาวนา แสดงเจตนาพื้นฐานความคิดทางการเมืองเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล และเหตุใดอาจารย์จากนิด้าจึงไม่ออกมาคัดค้าน เรื่องการประกันราคาข้าวในช่วงของพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งที่การประกันราคาข้าว ทำให้ต้นทุนของพ่อค้าส่งออก ถูกกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากรัฐบาลยุคประชาธิปัตย์ได้ทำการชดเชยต้นทุนไปให้ส่วนหนึ่ง ทำให้กลไกตลาดบิดเบือน สิ่งนี้ที่อาจารย์จากนิด้าไม่ได้พูดถึง
อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของกลุ่มนักวิชาการนั้น ศาลรัฐธรรมนูญอาจไม่สามารถพิจารณาการร้องเรียนเรื่องนโยบายรัฐบาลได้ โครงการจำนำข้าวจึงทำได้ เพราะไม่ได้ทำเพื่อเอากำไรเข้ารัฐบาล การเคลื่อนไหวจึงเป็นเพียงการแสดงออกเพื่อแสดงสัญลักษณ์ โดยนโยบายนี้สืบเนื่องตั้งแต่พรรคไทยรักไทย พลังประชาชนและเพื่อไทย ใช้ในการหาเสียง หวังแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร
แต่ต้องยอมรับว่า คุณภาพชีวิตของชาวนา ยังคงมีฐานะยากจน ข้อดีของการจำนำราคาข้าว จะเป็นการเข้าไปแทรกแซงราคาข้าวเปลือกโดยผ่านโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล จะช่วยให้ราคาข้าวดีขึ้น คุ้มครองชาวนา ขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันกับโรงสีข้าวและพ่อค้าข้าวรายใหญ่ได้ ทั้งยังช่วยยกคุณภาพชีวิตของชาวนาให้สามารถปลดหนี้ปลดสินได้
แต่บางส่วนก็มองว่าการจำนำราคาข้าว เป็นการแทรกแซงตลาดเช่นกัน คือ รัฐจะทำตัวเป็นพ่อค้าเสียเองในการใช้ความเชื่อใจชาวนา อาศัยกำลังเงินที่เหนือกว่า กว้านซื้อข้าวจากชาวนาในราคาที่สูงกว่าราคาในตลาดโลก จนทำให้เอกชนแข่งขันไม่ได้ และใช้งบประมาณมากมายมหาศาล (ประมาณปีละ 4-5 แสนล้านบาท) รัฐบาลยังมีภาระในการบริหารจัดการสต๊อคข้าวที่รับจำนำมาจากเกษตรกร รวมทั้งภาระในการะบายข้าวออกสู่ตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ และรัฐบาลยังต้องแบกรับภาระในการะบายข้าวออกสู่ตลาด ทั้งภายในและภายนอกประเทศ อีกทั้งยังเปิดช่องให้มีการทุจริตด้วย
โครงการรับจำนำราคาข้าว จึงเป็นโครงการที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด เพราะส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวได้น้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา แต่รัฐบาลก็ยังคงยืนยันว่า ราคาส่งออกที่สูงขึ้นก็ส่งผลดีต่อเกษตรกร ยังคงความเป็นอันดับหนึ่งในการส่งออกข้าวได้
⑧⑧
未经允许不得转载:综合资讯 » ม็อบชาวนา VS อาจารย์นิด้า กับนโยบายจำนำราคาข้าว ใครได้ใครเสีย