พระกรุจำนวนหนึ่งที่พบในกุฏิหลวงพ่อพูล.
ฮีตสิบสอง…เป็น ประเพณีของชาวอีสาน และกลุ่มชนฝั่งซ้ายแม่น้ำของ (โขง) ด้วยการ ทำบุญในรอบปี คือตลอด 12 เดือน…นับตามจันทรคติ
หลวงพี่น้ำฝนกับพระกรุในวัดไผ่ล้อม.
ล่วงลุเข้าสู่คาบแห่งกาลเวลาเดือน 4 เป็นเทศกาลของบุญผะเหวด บูชาพระเวสสันดรด้วยการเทศน์มหาชาติ หรือ พระเวสสันดรชาดก
ซึ่งชาวอีสานเชื่อว่า…หากใครจัดเตรียม คาย (เครื่องบูชา) ถูกต้อง และ ฟังเทศน์ทั้ง 13 กัณฑ์หมดครบภายใน
วันเดียว ชาติหน้าจะได้เกิดในศาสนาพระอริยเมตไตรย แต่ถ้าทำไม่ถูก ในทางตรงกันข้ามจะเกิดอัปะ…ชาวอีสานได้ให้ความสำคัญกับงานนี้มาก
O O O
จังหวัด…ที่ สืบสานบุญผะเหวด อย่างต่อเนื่องกระทั่งเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดคือ ร้อยเอ็ด เมื่อถึงกำหนด ทุกวัดจักต้องจัดพิธีกรรมแห่งบุญ ส่วนจะใหญ่หรือเล็กนั่นก็แล้วแต่ปัจจัย
รูปแบบพระศิวลีฯวัดป่าหนองหญ้าไซ.
ปีนี้ก็เช่นกัน….พระอธิการ เดชอุดม เตชวโร เจ้าอาวาส วัดเศรษฐีบุญลาโภวนาราม (วัดป่าหนองหญ้าไซ) กำหนด บุญผะเหวด ระหว่าง 19 ถึง 20 มีนาคม โดย เซียนเต่า เขย่าดวง เป็นโต้โผ
O O O
ทั้งนี้เพราะ…เมื่อ เทศกาลกฐิน ปีที่แล้ว เซียนเต่าฯ มาร่วมบุญและได้ ตั้งอธิษฐานจิตกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในวัดนี้ว่า….หาก กิจการงานสำเร็จจะนำเงินมาบูรณาการ
…แล้วก็ เป็นไปตามประสงค์ จึงเลื่อมใส ได้นำเม็ดเงินมาพัฒนาสถานที่และสืบสานประเพณี เบื้องต้นก็ลุยไปแล้วราวๆ 30 ล้านบาท
บริเวณภายในวัดป่าฯ.
และ…วันที่ 20 มีนาคม (วันนี้) ได้มีการ วางศิลาฤกษ์ พระศิวลีปางบิณฑบาต ขนาดสูง 18 เมตร เทียบแล้วก็เท่ากับตึก 5 ชั้น โดยมี ดารานักร้องนักแสดง และ นางงาม จากกรุงเทพฯ หลายท่าน…เข้า ร่วมพิธีกรรมในการบวงสรวง
O O O
การสร้างพระศิวลีปางบิณฑบาตครั้งนี้…เซียนเต่าฯ ได้รับแรงบันดาลใจจากพุทธประวัติ เพื่อให้ผู้ที่ร่วมบุญ ได้พลังในลาภผล และ ความสำเร็จ
คือ….เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์เสด็จผ่านถิ่นทุรกันดาร พร้อมสาวก 500 รูป แต่ครั้งนั้น มีพระศิวลีผู้เป็นเลิศในลาภะร่วมคณะ ด้วย เหล่า เทวดา และ อมนุษย์จึงมาใส่บาตร ทำให้พระทั้งหมดได้ลาภมีอาหาร ฉันตลอดการเดินทาง อานิสงส์การสร้างพระศิวลีบิณฑบาตจะส่งพลังให้ไม่อด…เมื่อมีไม่อดก็ร่ำรวย
พระอธิการเดชอุดม.
ซึ่ง…นอกจากจะสร้างองค์ใหญ่ประดิษฐานในวัดฯแล้ว ยังสร้าง องค์บริวาร หลายขนาด สำหรับตั้งโต๊ะบูชาและห้อยคอ…เป็นวัตถุมงคลติดตัวไปไหนๆก็มีพลังโชคลาภร่ำรวยติดไปด้วย
O O O
เพื่อให้เกิดความขลัง…จึงต้องเอาวัตถุมงคลเหล่านี้เข้า พิธีกรรมพุทธาภิเษก ก่อนจ่ายแจกแก่ผู้เลื่อมใสศรัทธา โดยเชื่อว่าต้องผ่านพิธีกรรมอย่างถูกต้องตำรา จึงจะเกิดพลังในความศักดิ์สิทธิ์
และ….อีกประเด็นของ ความเชื่อ คือ วัตถุมงคล ไม่ว่าจะใหญ่เล็ก หากมีอายุยาวนานก็จะเพิ่มในความขลัง และมูลค่า ดั่งวิสัยทัศน์ของ อริยสงฆ์แห่งเมืองนครปฐม…พระมงคลสิทธิการ (พูล อัตตะรักโข) กับ พระครูทักษิณานุกิจ (เงิน จันทสุวัณโณ) ซึ่ง 2 บูรพาจารย์ เป็นอาจารย์กับศิษย์
โดย….มิใช่เพียงแค่คิดยังได้ดำเนินการด้วย เริ่มตั้งแต่ปี 2492 หลวงพ่อพูล รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม หลวงพ่อเงิน เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม ผู้เป็นอาจารย์ จะมาเยือนเยี่ยมเป็นนิจ และ สร้างเครื่องรางของขลัง กันอย่างเงียบๆ มอบสะสมไว้ บางอย่างก็จารด้วยมือเป็นหลักฐาน
O O O
ล่วงสู่ปี 2509 หลวงพ่อพูลได้สร้างกุฏิ จึงได้นำเอาวัตถุมงคลต่างๆ ทั้งพระบูชา พระเครื่อง ทั้งใหม่ เก่านับเป็นร้อยปี บรรจุไว้ในชุกชี (ฐานพระพุทธรูป) 74 รายการ ราวๆ 5 พันองค์ โดย รู้กันเพียงศิษย์กับอาจารย์
และ…ย่างถึงปี 2520 หลวงพ่อเงินผู้เป็นอาจารย์ละสังขาร เป็นการปิดความลับไปหนึ่ง ต่อมาถึงปี 2548 หลวงพ่อพูลก็ละสังขารไปอีกรูป …ความลับจึงถูกปิดตาย
วิหารหลวงพ่อพูลหลังใหม่ที่จะสร้าง.
ต่อมา… พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ (หลวงพี่น้ำฝน) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อมสืบต่อจาก หลวงพ่อพูล จนถึงปัจจุบัน
O O O
แม้ว่า….หลวงพี่น้ำฝนจะเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อพูล และปรนนิบัติอย่างใกล้ชิด ก็ มิได้ระแคะระคาย กับ กรุมรดกพุทธวัตถุ (ด้วยทำก่อนหลวงพี่น้ำฝนเกิด)
หลังจาก หลวงพ่อพูลมรณภาพ สังขารไม่เน่าเปื่อย จึงนำมาประดิษฐาน ณ กุฏิหลังนี้ จนล่วงลุมาหลายปี ด้วยความกตัญญูธิคุณของศิษย์เอก ในฐานะเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม จึงจัด สร้างวิหารหลวงพ่อพูล ขึ้นใหม่ เพื่อ ประดิษฐานสังขารหลวงพ่อพูลอย่างสมเกียรติ…. ทดแทนหลังเก่าที่ผุพังตามอายุของกาลเวลา
ก่อนดำเนินการ ได้ทำพิธีกรรม บวงสรวงดวงวิญญาณ ขออนุญาต ต่อเจ้าของเดิม และตั้งจิตอธิษฐานว่า หากอนุมัติก็ขอให้มีเงินทุนดำเนินการ อย่าให้ติดขัด
O O O
ก็เป็นดั่งที่ตั้งจิต…หากหลวงพ่อพูลยังไม่ละสังขาร ปีนี้จะมีอายุครบ 98 สลากกินแบ่ง 2 ตัวล่างก็ออกเลขดังกล่าว ศรัทธาต่างๆจึงบริจาคเข้ามาร่วมสร้างอย่างท่วมท้น
เซียนเต่าเขย่าดวง.
และ….เมื่อรื้อทุบอาคารหลังเดิมก็พบมรดก ด้วยกรุแตกต้องขุดขนมหาสมบัติกัน 3 วัน 3 คืนจึงหมด ซึ่ง หากประเมินมูลค่า ถ้านำมาให้เช่าบูชาจะได้เม็ดเงินมากกว่างบประมาณในการสร้างวิหารหลังใหม่
แต่…หลวงพี่น้ำฝนเห็นว่าเป็นมรดก ของอาจารย์ ที่ตกทอด จากรุ่นสู่รุ่น คือ หลวงพ่อเงินสู่หลวงพ่อพูล และ หลวงพี่น้ำฝน เอง….จึงต้องเก็บไว้ให้เป็นสมบัติที่ยาวนาน
ซึ่ง…ช่วงนี้ได้เปิดให้บุคคลทั่วไปได้ชมและ สัมผัสจนถึงวันที่ 31 มีนาคม จากนั้นก็จะเก็บ และเมื่อสร้างวิหารแล้วเสร็จ จึงจะ สร้างพิพิธภัณฑ์ นำมรดกเหล่านี้ไว้แสดง….ให้อยู่ ชั่วลูกถึงหลาน!!
ก้อง กังฟู
未经允许不得转载:综合资讯 » สร้างศิวลี..วัดป่าฯร้อยเอ็ด ไผ่ล้อมพบ..กรุพ่อเงิน-พ่อพูล