综合资讯
当前位置:综合资讯 > 同城 > 语言翻译 > 正文

佛统及佛统大佛塔简史 泰汉对照(原创)

(备注:为行文流畅、符合汉语表达习惯,笔者在翻译的时候,部分句子并为完全按照泰文句式进行翻译,同时译文中所涉及的人名和地名,佛教、历史方面的词汇可能需要进一步确认修改,本文暂定于2010年12月将发表在《华侨希望公会》杂志上(ชุมนุมคลังสมอง),现贴出来供大家讨论修改。)                       

             ประวัติศาสตร์โดยสังเขปของนครปฐมและปฐมเจดีร์

        จังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดเล็ก ๆ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ด้วยระยะทางเพียงประมาณ 56 กิโลเมตร เป็นเมืองแห่งปูชนียสถานเก่าแก่ที่สำคัญคือ "พระปฐมเจดีย์"ซึ่งนับเป็นร่องรอยแห่งแรกของการเผยแพร่อารยธรรมพุทธศาสนาเข้าในประเทศไทย
      นครปฐมเป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่ง ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายเชื่อมต่อกับสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการตั้งถิ่นฐานทางพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรกในสมัยทวารวดีประมาณพุทธศตวรรษที่11 เป็นต้นมาจากหลักฐานทางโบราณคดีทำให้ทราบว่ามีกลุ่มชนเข้ามาอยู่ในพื้นที่นี้มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายยุคโลหะ ภายหลังสังคมเกษตรกรรม อายุประมาณ 2,000 ปีมาแล้วก่อนที่จะพัฒนามาเป็นชุมชนสมัยประวัติศาสตร์ในสมัยทวารวดีและได้พัฒนาการตั้งถิ่นฐานต่อเนื่องกันจนถึงปัจจุบัน

เมืองโบราณในสมัยทวารวดี จะมีความสัมพันธ์กับแนวชายฝั่งทะเลเดิมของอ่าวไทยมีความสูง 3 – 5 เมตรเมืองโบราณเหล่านี้ตั้งอยู่บนภูมิประเทศที่สูงกว่าแนวชายฝั่งขึ้นไปแนวชายฝั่งดังกล่าวเป็นอ่าวลึกเว้าเข้าไปในแผ่นดิน ด้านเหนือจรดลพบุรี และสิงห์บุรีด้านตะวันออกจรดนครนายก พนมสาคาม พนัสนิคม และชลบุรี ด้านตะวันตกจรดสุพรรณบุรีอู่ทอง กำแพงแสน และนครชัยศร (เมืองพระประโทน)ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 อาณาจักรทวารวดี รุ่งเรืองสูงสุดในภาคกลางของประเทศไทย

จากนั้นก็เข้าสู่ยุดเสื่อม ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่สำคัญก็คือ อาณาจักรขอม เริ่มมีอำนาจและแพร่ขยายอิทธิพลมายังภาคกลาง และเข้าทดแทนอาณาจักรมอญ หรือทวารวดี ในระยะต่อมา มีศิลปะวัตถุและโบราณสถานของขอมปรากฏอยู่ เช่น ลวปะ (ลพบุรี)   ชยปุระ (ราชบุรี)   วัชระปุระ (เพชรบุรี) สุวรรณปุระ (สุพรรณบุรี) ศรีชยสิงห์ปุระ (ปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี)   เมืองเหล่านี้อยู่ล้อมรอบนครปฐม ดังนั้น อิทธิพลสมัยละบุรี จึงมีอยู่ที่เมืองนครปฐมด้วยได้แก่ พระปฐมเจดีย์องค์เดิม ซึ่งสันนิษฐานว่า ยอดเดิมคงหักพังเสียหาย เมื่อขอมเข้ามามีอำนาจได้สร้างยอดปรางค์ขึ้นแทนส่วนที่ชำรุดหายไป จึงกลายเป็นเจดีย์ยอดปรางค์

佛统大佛塔.jpg

ในปลายรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจ และหลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.1762 บรรดาเมืองขึ้น และเมืองที่อยู่ในอิทธิพลของขอม ต่างก็แยกตัวเป็นอิสระ และสร้างศูนย์อำนาจแห่งใหม่ขึ้นแทนศูนย์อำนาจของขอม
        ในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ได้มีการประกาศตั้งอาณาจักรสุโขทัย แม้ชื่อนครปฐมจะไม่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึก เนื่องจากชื่อนครปฐมเพิ่งตั้งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ดินแดนนครปฐมก็ตกอยู่ในอำนาจการปกครองของกรุงสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงด้วย      

จากศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 ได้กล่าวถึง พระเถระผู้เป็นหลานพ่อขุนผาเมืองชื่อ พระศรีศรัทธาราชจุฬามณี ได้จารึกแสวงบุญไปยังลังกาทวีป เมื่อปี พ.ศ.1873 หลังจากนั้นท่านได้ประกอบมหากุศลมากมาย ที่สำคัญคือ การปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุเจดีย์ที่เรียกตามขอมว่า พระธม ซึ่งหมายถึง สถูปพระบรมธาตุขนาดมหึมา โดยที่พระมหาเจดีย์องค์นี้ปรักหักพังอยู่กลางป่า ณ เมืองเก่า ที่พระศรีศรัทธา ซึ่งมีผู้ให้ความเห็นว่าคือ เมืองนครปฐมโบราณ ในครั้งได้บูรณะพระบรมธาตุจากองค์เดิมสูง 95 วา เพิ่มเป็น 102 วา

นับตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง (พ.ศ.1893 – 1912) จนถึงสมัยพระยอดฟ้า (พ.ศ.2089 – 2091) เป็นเวลาประมาณ 200 ปี เมืองนครปฐมยังคงสภาพเหมือนสมัยสุโขทัยคือ ไม่มีฐานะเป็นเมือง จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ (พ.ศ.2090 – 2111) จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งเมืองใหม่ขึ้นสามเมือง หนึ่งในสามเมืองนั้นคือ เมืองนครชัยศรี ตามชื่อเมืองโบราณ

เมืองนครชัยศรีที่สร้างใหม่นี้ เป็นเมืองขนาดเล็ก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ในเขตตำบลท่านา อำเภอนครชัยศรี อยู่ห่างจากเมืองเดิมประมาณ 10 กิโลเมตร มีแม่น้ำนครชัยศรี หรือแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน มีฐานะเป็นเมืองจัตวา เป็นเมืองในเขตปกครองชั้นใน หรือเมืองในวงราชธานี

ในสมัยกรุงธนบุรีเรียกเจ้าเมืองว่า พระยานครชัยศรี แสดงว่ามีความสำคัญมากขึ้น ในสมัยกรุงธนบุรีเส้นทางเดินทัพของพม่าทางด้านทิศตะวันตก จะผ่านเมืองนครชัยศรีก่อนจะเข้ากรุงธนบุรี กองทัพพม่าได้ยกเข้ามาทางเส้นทางนี้สองครั้ง (พ.ศ.2310 – 2317) สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ทรงยกทัพจากกรุงธนบุรี ไปรับศึกสองครั้งโดยได้เสด็จไปทางเรือตามคลองด่าน หรือคลองมหาชัย ซึ่งเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างคลองบางกอกใหญ่ กับแม่น้ำท่าจีน            

ตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บ้านเมืองอยู่ในภาวะสงบสุข และได้เริ่มติดต่อกับชาติตะวันตก สินค้าที่ส่งออกมีมูลค่าสูงสุดคือ น้ำตาลทราย ซึ่งมีแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจี

แขวงเมืองนครชัยศรี ระหว่างปี พ.ศ.2353 – 2391 ทำให้ชุมชนในย่านนี้ขยายใหญ่โต มีชาวจีนอพยพเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีชาวลาวและชาวเขมร

大佛塔2.gif

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงผนวชอยู่ ได้เสด็จธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ ทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และประเทศใกล้เคียง เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ โดยให้ช่างทหารทำแบบเจดีย์ขึ้นใหม่แบบลังกา มีรูปทรงกลม ไม่มีฐานทักษิณ สูง 17 วา 2 ศอก ครอบเจดีย์องค์เดิม

ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.2403 ได้เกิดเหตุการณ์เจดีย์ที่สร้างสวมทับองค์เดิมได้พังทลายลงมา หลังจากเกิดฝนตกใหญ่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงให้ดำเนินการก่อสร้างใหม่ มีการแก้ปัญหาการพังทลายขององค์เจดีย์ด้วยการใช้ไม้ซุงทั้งต้นปักเรียงกัน แล้วมัดด้วยโซ่ขนาดใหญ่เป็นเปลาะ ๆ เสร็จแล้วจึงก่ออิฐถือปูนหุ้มข้างนอก และเปลี่ยนแปลงรูปเจดีย์ให้มีฐานกว้างขึ้น ส่วนสูงเพิ่มจากเดิม และมีการสร้างวิหารสี่ทิศ และเชื่อมต่อกันด้วยระเบียงกลมล้อมรอบองค์พระเจดีย์ จากระเบียงออกมาเป็นลาน มีการสร้างหอระฆังไว้เป็นระยะรวม 24 หอ มีการจำลองรูปพระเจดีย์องค์เดิม จำลองพระเจดีย์วัดมหาธาตุ นครศรีธรรมราช สร้างภูเขาจำลอง มีหอกลองกับหอระฆัง และมีการปลูกต้นไม้ในพระพุทธศาสนา

งานก่อสร้างบูรณะพระปฐมเจดีย์สำเร็จลุล่วง ในตอนต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการประกอบพิธียกยอดพระปฐมเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ.2413 ยอดพระเจดีย์หล่อด้วยทองเหลือง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระเบื้องประดับองค์พระปฐมเจดีย์หลุดล่อนเสียหายเป็นอันมาก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนกระเบื้องใหม่ทั้งองค์

ในรัชสมัยพระบทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมอบหมายให้มีการซ่อมแซมพระวิหารหลวง และตกแต่งเพิ่มเติมให้สวยงาม และโปรดเกล้า ฯ ให้เขียนภาพพระปฐมเจดีย์ไว้ที่ผนังด้านในพระวิหารหลวง แสดงให้เห็นลักษณะรูปทรงพระเจดีย์ครั้งสมัยเริ่มสร้างจนถึงปัจจุบัน และยังมีภาพวาดประกอบอื่น ๆ ประกอบอีกด้วย นอกจากนี้ยังทรงให้ขยายบันไดด้านทิศเหนือให้กว้างขึ้น และให้สร้างพญานาคเลื้อยลงมาแผ่แม่เบี้ยเชิงบรรไดอย่างงดงาม โปรดเกล้า ฯ ให้หล่อพระพุทธรูปเก่าจากเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเลือแต่พระเศียร พระหัตถ์ และพระบาท ให้เป็นองค์สมบูร

นอกจากนั้นพระองค์ยังได้พระราชทานชื่อถนนทั้งสี่ด้าน นอกบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์คือ ด้านตะวันออกชื่อถนนหน้าพระ ด้านทิศเหนือชื่อถนนซ้ายพระ ด้านทิศใต้ชื่อถนนขวาพระ และด้านทิศตะวันตกชื่อถนนหลังพระ และได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างสะพานข้ามคลองเจดีย์บูชา พระราชทานนามว่า สะพานเจริญศรัทธา

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองนครชัยศรีซึ่งเคยอยู่กับกระทรวงมหาดไทย ต่อมาได้มาขึ้นกับกรมท่าด้วย เพื่อสะดวกในการบูรณะพระปฐมและได้มีการเกณฑ์พวกเลข (สักเลข) มาทำการบูรณะ

สุพรรณบุรี และเมืองสมุทรสาคร ตั้งเป็นมณฑลเทศาภิบาล เมื่อปี พ.ศ.2438 มีที่ทำการมณฑลอยู่ที่เมืองนครชัยศรี โดยที่เมืองนครชัยศรีแบ่งออกเป็นห้าอำเภอคือ อำเภอเมือง ฯอำเภอพระปฐมเจดีย์อำเภอตลาดใหม่อำเภอบางปลา และอำเภอกำแพงแสน

ในปี พ.ศ.2441 ได้ย้ายที่ทำการมณฑลนครชัยศรี มายังอำเภอพระปฐมเจดีย์ ซึ่งเป็นอำเภอเมือง ฯ ในปัจจุบัน โดยทำการซ่อมแซมพระราชวังปฐมนคร แล้วใช้เป็นที่ตั้งมณฑล

เมื่อปีพ.ศ.2450พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่สร้างที่ประทับที่เมืองนครปฐม บริเวณสระน้ำจันทร์ ซึ่งเป็นสระน้ำโบราณอยู่ใกล้กับเนินปราสาท ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ไปทางทิศตะวันตกประมาณสองกิโลเมตร พระราชทานชื่อว่า พระราชวันสนามจันทร์ ประกอบด้วยพระที่นั่งห้าหลัง และพระตำหนักต่าง ๆ สี่หลัง รูปแบบการสร้างมีทั้งแบบศิลปกรรมไทย ศิลปกรรมยุโรป

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาประทับพระราชวังสนามจันทร์อยู่เสมอ นอกจากจะเป็นที่แปรพระราชฐานแล้ว ยังใช้เป็นที่ว่าราชการ เลี้ยงรับรองพระราชอาคันตุกะอย่างเป็นทางการ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

LL

未经允许不得转载:综合资讯 » 佛统及佛统大佛塔简史 泰汉对照(原创)

赞 (0)
返回首页
分享到:更多 ()

精彩推荐