综合资讯
当前位置:综合资讯 > 资讯 > 泰国新闻 > 正文

Today Report:

Today Report:

หนทางใด ? ที่จะนำประเทศชาติไปสู่ความปรองดอง วิธีใด ? ที่จะทำให้บ้านเมืองสงบสุข ในฐานะคนไทยจะมีใครตอบได้บ้าง แต่หนึ่งในคนไทยที่เป็นตัวแทนจากพรรคภูมิใจไทย บอกว่า "การนิรโทษกรรม" จะช่วยให้เกิดความปรองดองในประเทศชาติได้ แล้วจะช่วยได้จริงหรือ ???

เมื่อ "เนวิน ชิดชอบ" ผู้คุมบังเหียนภูมิใจไทย ยังเดินหน้ากฎหมายนิรโทษกรรม หวังสร้างความปรองดองในชาติ ท่ามกลางเสียงโหวกเหวกคัดค้านของผู้นำประเทศ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" นายกรัฐมนตรี ที่ออกรับหน้าศึกประกาศชัดว่า ให้ภูมิใจไทยลองถามสังคมดูก่อน เชื่อว่าจะมีปมขัดแย้งใหม่ขึ้นมาทันที

เหตุผลนายกฯ สวนกับคำว่า "ปรองดอง" เสียจริง ขณะที่ภูมิใจไทยก็อ้างว่า "เพื่อความปรองดอง" เหตุไฉนพรรคการเมือง ที่ร่วมกันจ้ำร่วมกันพายมาด้วยกัน ถึงแสดงออกซึ่งความไม่ลงตัวอย่างนี้ แล้วประเทศไทยจะปรองดองกันได้อย่างไร เมื่อคนใกล้ตัวกลับขัดแย้งกันซะขนาดนี้

ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ จึงได้สอบถามความเห็นไปยังผู้ที่อยู่นอกวงภูมิใจไทยและประชาธิปัตย์ ที่อยู่ไม่ไกลการเมืองเท่าไหร่นัก โดยหวังว่าจะเป็นการเปิดมุมมองให้คนที่อยู่มุมนอกบ้าง ดูสิว่่า นักวิชาการเหล่านั้น เขาคิดเห็นกันอย่างไร ​???

เริ่มกันที่ "ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์" ประธานคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เปิดเผยความคิดเห็นว่า ส่วนตัวเชื่อว่า เป้าหมายในการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแต่อย่างใด แต่กลับทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย เพราะการนำกฎหมายนิรโทษกรรมมาใช้ ต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่า ต้องการนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดทางการเมืองกลุ่มไหน อย่างไร และกลุ่มนั้นต้องการนิรโทษกรรมด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ หากกลุ่มที่เกี่ยวข้องไม่ต้องการ เมื่อดำเนินการไป มันก็จะไม่ได้ช่วยอะไร และเท่าที่ทราบเห็นว่า จะมีการนิรโทษกรรมให้กับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนั้นไม่ต้องการการนิรโทษกรรมแต่อย่างใด

Today Report:

ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์

ศ.ดร.สมบัติ ยังกล่าวต่อว่า การออกกฎหมายนิรโทษกรรมที่มีเจตนาซ่อนเร้น ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับความต้องการ โดยเห็นว่าเรื่องนี้ จำเป็นต้องมีการสำรวจความคิดเห็นกันอย่างจริงจัง ว่ามีคนกลุ่มไหนเกี่ยวข้อง และต้องการให้นิรโทษกรรมบ้าง เพราะว่าประชาชนที่เคลื่อนไหวปกติและไม่ได้กระทำผิด ในทางปฏิบัติภาครัฐก็ไม่ได้ดำเนินการจับกุมหรือลงโทษใดๆ อยู่แล้ว และที่บอกว่า การนิรโทษกรรมไม่ได้หมายรวมถึงแกนนำ แต่เห็นว่าที่มีปัญหาอยู่จนถึงทุกวันนี้ คือ กลุ่มแกนนำที่ถูกดำเนินคดี ดังนั้นการนิรโทษกรรมจึงต้องมีเหตุมีผล และมีเป้าหมายชัดเจน ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

"เป้าหมายของการนิรโทษกรรม เท่าที่แถลงออกมานั้น ยังไม่ได้ช่วยให้เกิดผลดีกับทางเมืองเท่าไหร่นัก แต่เป็นการช่วยไม่ให้ไปดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งจริงๆ แล้วรัฐบาลก็ไม่ได้กระทำการใดๆ กับผู้ที่ไม่ได้กระทำผิดหรือก่ออาชญากรรมอยู่แล้ว สิ่งที่ควรทำมากที่สุดในขณะนี้ คือ การบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ และทำให้คนรู้ว่า ถ้าใครทำผิดกฎหมายจะต้องถูกลงโทษ เพราะการนิรโทษกรรมต่างๆ ต้องดูว่ามันมีความจำเป็นจริงๆ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนโดยตรง แต่ถ้าไม่ใช่อย่างนั้น มันกลายเป็นว่า จะทำให้คนมีนิสัยไม่เคารพกฎหมาย เราจึงยังไม่ควรที่จะนิรโทษกรรม นอกจากนี้ยังต้องเพิ่มการบังคับใช้กฎหมายในระบอบประชาธิปไตยด้วย เช่น ถ้าใครใช้สิทธ์ิเกินที่กฎหมายกำหนด และไปสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น จนได้รับความเสียหาย จะต้องมีบทลงโทษที่ชัดเจน"

นอกจากนี้ ศ.ดร.สมบัติ ยังแสดงความเห็นว่า การนิรโทษกรรมไม่ได้นำประเทศชาติไปสู่ความปรองดองได้ เพราะการดำเนินการใดๆ ก็ตาม ต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย ถ้าหากไม่ยอมรับกฎหมาย แนวทางการปรองดองใดๆ จะไม่ช่วยให้สังคมดีขึ้น เพราะจะช่วยส่งเสริมให้เกิดปัญหาความขัดแย้งได้ตลอดเวลา ทั้งนี้เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น เราจะปรองดองด้วยการออกนิรโทษกรรม และยกเว้นข้อกฎหมายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เนื่องจากคู่หลักของความขัดแย้ง ไม่ได้ต้องการปรองดองกัน

"ผมคิดว่า เป้าหมายของการนิรโทษกรรมที่จะกระทำครั้งนี้ ไม่มีประโยชน์ใดๆ ต่อการปรองดอง และไม่มีผลในทางปฏิบัติด้วย เพราะคนที่จะมาชุมนุม ก็ยังมาชุมนุมตามเป้าหมายของเขาอยู่ดี ความปรองดองจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อทุกคน ทุกภาคส่วนในสังคม เห็นว่าความขัดแย้งจะนำมาซึ่งความเสียหายของสังคม จากนั้นจึงคิดเห็นตรงกันว่า เราจะต้องแก้ปัญหาความขัดแย้ง ด้วยการหันหน้าปรองดองกัน ความปรองดองจึงจะเรียกว่าสำเร็จ แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะปรองดอง และอีกฝ่ายไม่ยอมปรองดองด้วย มันจะไม่ประสบความสำเร็จ ความเป็นจริงมันเป็นอย่างนั้น" ศ.ดร.สมบัติ กล่าวทิ้งท้าย

ด้าน "ศ.ดร.คณิต ณ นคร" ประธานคณะกรรมการอิสระ ตรวจสอบและค้นหาความจริงเหตุการณ์ความไม่สงบ เพื่อนำไปสู่การปรองดองแห่งชาติ บอกกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์เพียงว่า เรื่องนี้ต้องรอดูก่อน เขาจะว่าอย่างไร เพราะตอนนี้ยังไม่รู้รายละเอียด และคิดว่าควรปล่อยให้ฝ่ายการเมืองจัดการเรื่องนี้ไป เพราะมันเป็นเรื่องของการเมือง ส่วนแนวทางการปรองดองในส่วนที่ตนรับผิดชอบ ก็ยังต้องดำเนินการต่อ โดยในสัปดาห์หน้าทางคณะอนุกรรมการฯ จะเข้าไปฟังข้อมูลจากฝ่ายทหาร ซึ่งก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรในการทำงานของตน

Today Report:

ศ.ดร.คณิต ณ นคร

ขณะที่ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ยังได้สัมภาษณ์ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล "รศ.ดร.โคทม อารียา" ถึงทัศนคติเรื่องที่จะให้มีการนิรโทษกรรมผู้ที่กระทำความผิดทางการเมือง โดยอธิบายว่า การให้อภัยเป็นพื้นฐานในความปรองดอง ซึ่งหมายความว่า แต่ละฝ่ายต้องรับรู้ว่า เราจะให้อภัยกันเพื่อความปรองดอง โดยไม่ใช่ว่า เมื่อให้อภัยกันแล้ว ก็กลับไปทำร้ายกันอีก นี่คือหัวใจของการให้อภัย ส่วนที่เคยทำร้ายกันจนเกิดบาดแผลนั้น เห็นว่าหากมีอะไรที่จะช่วยเยียวยาบาดแผลได้ ก็คงเป็นเรื่องของการยอมรับความจริง ซึ่งนำไปสู่การให้อภัยกัน

เมื่อพูดถึงกรณีที่พรรคภูมิใจไทย เสนอให้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมนั้น รศ.ดร.โคทม เห็นว่า ขณะนี้เรายังไม่ทราบว่า เงื่อนไขของการนิรโทษกรรมจะครอบคลุมแค่ไหน  ซึ่งจะต้องดูรายละเอียดกันก่อน แต่หากมองที่สาระของข้อเสนอนี้ ก็เห็นว่าควรที่จะพิจารณากฎหมายนิรโทษกรรม โดยต้องทำความเข้าใจและข้อตกลง เพื่อระดมความคิดเห็นร่วมกันก่อน ด้วยการมองเรื่องข้อเท็จจริงเป็นหลัก เช่น ในบางเรื่องอาจจะไม่จำเป็นต้องหาข้อเท็จจริงต่อ ส่วนในบางกรณีที่ 2 ฝ่ายยังไม่สามารถหาข้อเท็จจริงได้ ก็อาจจะจำเป็นต้องดำเนินการต่อไป เพื่อทำความจริงให้ปรากฏ

Today Report:

รศ.ดร.โคทม อารียา

"เมื่อมีบทเรียนแล้ว เราจะก้าวข้ามประวัติศาสตร์อันบอบซ้ำไป ตรงนั้นจะเป็นเรื่องที่จะให้อภัยกัน แต่ถ้าเรายังนัวเนียๆ กล่าวโทษกันไปมา โดยที่ความจริงไม่ปรากฏ แล้วยังไม่รู้สึกว่า เรามีส่วนผิดหรือไม่ มันก็ลำบาก การนิรโทษอาจจะไม่ได้ผลเต็มที่ต่อสังคม จุดนี้ถือเป็นไม้เด็ดของสังคม เพราะสังคมคาดหวังว่า หากให้อภัยกันแล้วเลิกทะเลาะได้หรือไม่ เราต้องยอมรับบทเรียนที่ผ่านมา และต่อจากนี้เราจะเดินหน้าต่อไป ด้วยการตกลงร่วมมือกันปรองดอง"

นอกจากนี้ รศ.ดร.โคทม ยังได้กล่าวถึงปัญหาเกี่ยวกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมด้วยว่า ขณะนี้ยังมีปัญหาอยู่ คือ 1. ทั้ง 2 ฝ่าย ยังไม่ยอมรับการนิรโทษกรรม เพราะฝ่ายหนึ่งก็รู้สึกว่าตนเองไม่ผิด แต่อีกฝ่ายหนึ่งกลับมองว่าผิด 2. ความคลุมเครือของข้อเท็จจริง 3. การกล่าวโทษเจตนาของผู้เสนอ ว่าทำไปเพื่อตั้งใจให้เกิดผลการเมือง

พร้้อมกันนี้ยังสรุปความเห็นให้ฟังแบบง่ายๆ ว่า "ยอมรับว่าวัตถุประสงค์หลักนั้นดีแล้ว ไม่ใช่เพียงแต่ช่วยคนที่กระทำความผิด ให้ไม่ผิดอีกต่อไป แต่ยังช่วยให้สังคมมีความปรองดองขึ้น โดยจะได้ไม่ต้องปัดความรับผิดชอบกันไปมา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปรองดอง ไม่ว่าจะเป็นใครเสนอก็ตาม เรื่องนี้ควรเป็นประเด็นสาธารณะ ที่ผ่านการถกแถลงกันโดยทั่ว ซึ่งเชื่อว่า จะทำให้สังคมได้รับประโยชน์กันมากที่สุด" รศ.ดร.โคทม กล่าว

ล่าสุดนึกว่ากระแสข่าวนี้จะซาลง แต่ความเป็นจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อนายกฯ ยังออกมาย้ำอีกรอบ เพื่อเป็นการยืนยันชัดเจนว่า การออกกฎหมายนิรโทษกรรมไม่ใช่แนวทางของรัฐบาล คงต้องพูดคุยกับพรรคภูมิใจไทยดู ว่าแท้จริงแล้้วต้องการอะไร…

未经允许不得转载:综合资讯 » Today Report:

赞 (0)
分享到:更多 ()