综合资讯
当前位置:综合资讯 > 资讯 > 泰国新闻 > 正文

ไทยรัฐออนไลน์วันพฤหัสบดีที่

เชื่อตั"ถ้าวเองจะไม่มี 14 ตุลา ไม่มีเหลือง-แดง…" ก้องศักดิ์ หลานจอมพลถนอม กิตติขจร

ไทยรัฐออนไลน์วันพฤหัสบดีที่

ก้อง-ก้องศักดิ์ ยอดมณี หรือที่รู้จักกันในชื่อเดิมว่า พงศ์ศักดิ์ เป็นบุตรชายวัยของ ดร. สุวิทย์ ยอดมณี อดีต รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ปัจจุบัน ก้องศักดิ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพรรคประชาธิปัตย์เขาเป็นผู้ช่วยเลขาธิการพรรค

และที่สำคัญ "โปรดฟังอีกครั้งหนึ่งว่า" ก้องศักดิ์ยังเป็นหลานจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทย เนื่องในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 เวียนมาบรรจบอีกครั้ง

ไทยรัฐออนไลน์มีโอกาสพูดคุยในทุกๆ เรื่องตั้งแต่เรื่องความลับ 14 ตุลา 2516 ที่ยังไม่เคยเปิดเผยที่ไหน เรื่องทหารกับการเมือง เรื่องพัฒนาการประชาธิปไตย เรื่องพลังนักศึกษา และอื่นๆ อีกมายมายที่ไม่ว่าฝ่ายไหนฟังแล้วก็ได้ประโยชน์ทั้งนั้น……

ไทยรัฐออนไลน์วันพฤหัสบดีที่

Q: ถ้ามองย้อนไปที่เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 จนถึง 14 ตุลาคม 2553 ในฐานะหลานจอมพลถนอม กิตติขจร คุณคิดว่าสังคมนี้ได้อะไรบ้าง

A: ตอนที่เกิดเหตุการณ์ผมอายุยังไม่ถึง 1 ขวบดี พอผมโตก็ได้ศึกษาเรื่อง 14 ตุลาในมุมต่างๆ มากมาย ทั้งจากเอกสาร จากคนที่บ้าน ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้อยู่ในเหตุการณ์รวมถึงได้สัมผัสชีวิตคุณตา –คุณพ่อโดยตรง 14 ตุลา เป็นบทเรียนที่ดีมากๆ จริงๆ ผมไม่อยากจะบอกว่าฝ่ายนั้น-ฝ่ายนี้ผิด แต่สิ่งที่อยากจะบอกก็คืออยากให้ทุกๆ คนเปิดใจรับและฟังข้อมูลให้ครบทุกด้านก่อนตัดสินใคร หลายอย่างของเหตุการณ์ 14 ตุลามันคุมได้ไหม เมื่อคุมไม่ได้ แล้วมันมีอะไรเกิดขึ้น มีใครเข้ามาเกี่ยวข้อง เรื่องที่มันจะตกลงกันจะได้แล้ว ทำท่าว่าจะดี แต่พลิกกลับมาไม่ดีก็ได้ จะสลายสลายก็ไม่ได้ เพราะว่าคนไม่เข้าใจกัน

ไทยรัฐออนไลน์วันพฤหัสบดีที่

บางครั้ง “คนชนะเป็นคนเขียนประวัติศาสตร์” แต่ผมไม่ได้บอกว่าคนชนะไม่ดี ผมถือว่า 14 ตุลา มีนัยยะสำคัญทางการเมือง เป็นการเคลื่อนไหวโดยจิตบริสุทธิ์ของพลังนักศึกษาจริงๆ และนักศึกษาก็ชนะแล้ว 14 ตุลาแต่สิ่งที่พลังบริสุทธิ์เหล่านั้นไม่รู้ก็คือ 14 ตุลามันก็มีปัจจัยอื่นมีผู้เกี่ยวข้อง มีกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ ที่ทำให้สถานการณ์มันเลวร้ายลง เนื่องจากการมาของบุคคลที่ 3-4 หรือมากกว่านั้น เพราะเรามีข้อมูลพอสมควร

Q: มีข้อมูลวงในกับเหตุการณ์ 14 ตุลา ที่หลายคนไม่รู้ และคุณอยากจะบอกบ้างไหม

A : ผมเคยฟังนักศึกษา14 ตุลาบอกว่า ในขณะเป็นนักศึกษาหลายคนเขาไม่รู้ว่า ตอนเขาเป็นนักศึกษามีข้อมูลที่ไม่สามารถรู้เรื่องลึกๆ ถึงความขัดแย้งภายในของรัฐบาล กลุ่มประโยชน์ของรัฐบาลเองว่ามีหลายฝัก-ฝ่าย เพราะข้างในรัฐบาลมันก็แตกกันได้ จริงๆ ก่อนจะมาถึงจุดแตกหักคุณตาก็บอกลูกๆ หลานๆ ว่าจะ “ลาออก”ตั้งหลายครั้งแล้ว แต่การที่ต่ออายุราชการออกไป คุณตาก็ไม่ได้อยากต่อ แต่ฝ่ายที่เขากลัวว่า ถ้าคุณตาไป มันจะมีการสืบทอดอำนาจ ทางฝ่ายนี้ จอมพลประภาส จารุเสถียร พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร เขายอมไม่ได้ที่อีกฝ่ายจะขึ้นมา คุณตาก็เปรียบเสมือนคนกลาง จริงๆ คุณตาเป็นแค่ทหาร ไม่ได้อยากอยู่ในวงการเมืองเลย

ไทยรัฐออนไลน์วันพฤหัสบดีที่

Q: คุณพูดหลายครั้งว่า “คุณตาไม่ใช่นักการเมืองอาชีพ”…?

A: โดยหลักแล้ว เขาก็ไม่ใช่นักการเมืองเลย เพราะซื่อ ตรงไป ตรงมา ซึ่งสมัยนี้หายากมากๆ อย่างเรื่องต่ออายุราชการก็ไม่เคยมีคนพูดว่าจริงๆ คุณตาไม่อยากจะต่ออายุราชการเลย ไม่ได้อยากอยู่ในตำแหน่งนานๆ หรืออย่าง ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ที่ "สื่อ" สมัยนั้นจับคู่กันว่าเป็นศัตรูกับคุณตา แต่เท่าที่ผมสัมผัสหลายครั้ง โดยเฉพาะตอนที่เราไปอังกฤษ ก็มีโอกาสไปเยี่ยมท่านคุณตาก็คุยกันอย่างสนิทสนม เพราะท่านเป็นเพื่อนกันรักกันมาก สิ่งต่างๆ อาจจะเกิดขึ้นจากสื่อความหมายกันผิด หรือกระทั่งในช่วงที่คุณตามีอำนาจท่านอาจจะเข้าไม่ถึงตัว ในขณะที่คุณตาใหญ่มากๆ ทำให้ไม่สามารถสื่อกันได้ไปตรงๆ เลยต้องมาเขียนจดหมายจาก “นายเข้ม เย็นยิ่งถึงนายทำนุ เกียรติก้อง” สื่อสารกัน ทั้งหมดทั้งมวลมันสามารถเห็นแย้งกันได้ เห็นต่างกันได้ แต่ความเป็นเพื่อนก็ยังคงอยู่

คุณตากับ ดร.ป๋วย ทั้ง 2 คนเป็นเพื่อนร่วมรุ่น วปอ.รุ่น 1 ด้วยกัน วันที่ ดร.ป๋วยเลี้ยง วปอ. รุ่น 1 แล้วคุณตาไม่อยู่ ดร.ป๋วย เป็นคนที่นำเพื่อนดื่มให้กับคุณตา นอกจากนี้ ยังมีการเขียนหนังสือด้วยว่า คุณตาคือนายกรัฐมนตรีที่มีบุญคุณกับ ดร.ป๋วยมากที่สุด เพราะตอนนั้น ดร.ป๋วยเป็นผู้ว่าแบงก์ชาติ ซึ่งถ้าผู้ว่าแบงก์ชาติขัดแย้งกับการเมืองปั๊บ…ทุกๆ อย่างก็จะต้องไปทันที ต้องยอมรับว่าตอนนั้นมันมี "ฝ่ายผลประโยชน์ต่างๆ จะล้ม ดร.ป๋วย "แต่คนก็จะยกย่องว่าท่านคือสุดยอดของผู้ว่าฯ แบงก์ชาติคนหนึ่ง แต่ว่าที่ ดร.ป๋วยได้อยู่เป็นผู้ว่านาน ดร.ป๋วย ก็พูดออกมาเองว่า คุณตาแก้ตัวให้ตลอด คุณตาเห็นว่าดร.ป๋วยเป็นคนเก่งเป็นคนดี หลายคนที่จะมีคนบอกให้ปลด คุณตาจะเป็นคนทุบโต๊ะห้ามเอง ไม่ให้ใครไปแทรกแซงเพราะแบงก์ชาติต้องมีอิสระที่จะกำหนดนโยบายทางการเงินไม่เช่นนั้นจะอันตรายมากๆ ซึ่งท่านทราบข้อมูลดีว่าอยู่ได้เพราะคุณตา ที่สำคัญคุณตาเป็นคนที่เอาผลประโยชน์ของส่วนร่วมเป็นใหญ่ และก็เป็นคนที่มีประชาธิปไตยสูง

ไทยรัฐออนไลน์วันพฤหัสบดีที่

Q: จอมพลถนอม กิตติขจรไม่ได้เผด็จการอย่างที่หลายคนเข้าใจ

A : ท่านไม่ได้เป็นคนที่จะทุบโต๊ะปัง…จะเอาอย่างนั้น-นี้ ท่านจะฟังข้อมูลจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง แล้วมาตัดสินใจ เอาความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ ซึ่งเรื่องนี้สังคมไม่รู้เพราะคนที่รู้ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตไปหมดแล้วจะเหลือไม่กี่คนเช่น ดร. ถนัด คอมันตร์ เคยทำงานด้วยจะเล่าให้ฟังว่าท่านไม่แข็งออกจะอ่อนไปด้วยซ้ำ ไม่เหมาะกับการเป็นเผด็จการ อย่างเผด็จการ “จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์” เด็ดขาดใครไม่เห็นด้วยจัดการ แต่คุณตาไม่ใช่ท่านเมตตา แม้กระทั่ง "แมวตกน้ำยังโดดน้ำไปช่วยเลย" ไม่ใช่คนที่มีลักษณะที่จะปกครองแบบเผด็จการ ซึ่งมันก็เป็นจุดอ่อนของระบอบเผด็จการในขณะนั้น คือ "ผู้นำไม่มีความเป็นเผด็จการมันเลยโดนล้ม" มันมีเหตุลอะไรต่างๆ ที่เราอยากให้คนมองหลายๆ อยากให้คนมาศึกษาดู รับฟังกัน ไม่มีถูก-ผิดขอให้ฟังกัน

Q: อะไรคือข้อผิดพลาดที่ให้บั่นปลายของจอมพลถนอม กิตติขจรที่ทำให้เดินทางผิดพลาดมาถึงการมีจุดจบแบบนี้ได้

A : ประการแรก คุณตาเป็นทหารที่ดีมาก สอบได้ที่ 1 มาตลอดในโรงเรียนทหารซึ่งข้อของการเป็นทหารก็คือความจงรักภักดี ทหารจะรักและรับใช้เจ้านาย ทุ่มเทให้ต่างๆ นานา และพอผู้บังคับบัญชาเข้ามาในการเมืองมากๆ ทำให้คุณตาหลุดเข้ามาในการเมืองด้วย ทั้งที่ผมเชื่อว่า บุคลิกส่วนตัวท่านไม่ได้เหมาะกับการเป็นนักการเมืองในสมัยนั้น เลย เหมาะกับการเป็นทหารมากกว่า และพอเข้ามาแล้วด้วยความรักทั้งรุ่นพี่-น้อง ทำให้คุณตาไว้ใจคนมากๆ คุณตาไม่รู้ว่าการเมืองมันมีอะไรลึกลับมากกว่านั้น ทำให้โดนหักหลังมากมาย และด้วยจุดอ่อนแบบนี้ก็เลยกลายเป็นว่าไม่ทันนักการเมือง จะเห็นได้ตอนที่ท่านปฏิวัติตัวเองช่วงนั้น ส.ส.ในสภาก็มีการต่อรองผลประโยชน์กันว่าจะต้องจ่ายเท่านั้นเท่านี้ ท่านเลยต้องปฏิวัติตัวเอง มันก็เลยกลายเป็นจุดอ่อนที่ทำให้คนตีได้อีก แต่คนไม่รู้ข้อมูลก็คือว่า “เฮ้ยทำไมเป็นอะไรวะปฏิวัติตัวเอง ไม่ให้อำนาจประชาชน ไม่คืนให้อำนาจให้ ส.ส. มันจะไม่ชัดเจน”

คุณตาเป็นคนที่มีเมตตา รักลูกน้อง รักผู้บังคับบัญชามากเมื่อคนเหล่านี้ขอให้อยู่ต่อ ท่านก็อยู่ ซึ่งหากตอนนั้นท่านแข็ง และทำตามใจตัวเองที่ต้องการที่บอกว่า “พอ…จบแล้ว มันจะไม่มีวันนี้” เหตุการณ์ 14 ตุลาก็จะไม่เกิดหนักหนา แล้วบั่นปลายชีวิตคนก็จะนึกถึงท่านว่าท่านไปทำประโยชน์มากกว่านี้ อย่างตอนที่ท่านอยู่มหาวิทยาลัยเกิดขึ้นมากที่สุดในประเทศ ไม่มีนายกฯ คนไหนสนับสนุนการศึกษาขนาดนั้น อีกสิ่งหนึ่งคือท่านเป็นอาจารย์สอน “แผนที่ทหาร” ท่านชอบการพัฒนาชนบท ชอบสร้างถนน สร้างสะพานถ้าไปพลิกดู โครงสร้างพื้นฐานเมืองไทยได้รับการพัฒนาสูงมากๆ เป็นจุดที่เรียกว่าเจริญกว่า “เกาหลี” อีกจุดอ่อนสำคัญก็คือท่านไม่ได้เป็นนักธุรกิจ อย่างนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี คนปัจจุบัน ท่านดูเศรษฐศาสตร์ได้ แต่ของคุณตาให้คนอื่นดู ทำให้มีช่องว่างเยอะ ถ้าท่านไม่เข้ามาการเมืองท่านจะเป็นทหารที่สมบูรณ์แบบ ไม่ใช่เป็นนายกฯ แล้วมีความทุกข์มากมาย

ไทยรัฐออนไลน์วันพฤหัสบดีที่

Q: มีเงินทองแล้วก็ใช่ว่าจะมีความสุข…  ?

A : นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่หลายคนเข้าใจผิด เพราะว่าสื่อไปตีข่าวว่าเป็นคุณตาเป็นเจ้าของตึก “เอ็มไพร์สเตท” ที่อเมริกา ซึ่งตอนที่ผมไปเราไปอยู่ห้องเล็กๆ นอนกันเต็มห้อง แล้วเราไม่ได้ขนสมบัติอะไรไปเลย เพราะว่าเราไม่ได้เป็นคนรวย อย่างบ้านที่ผมโดนยึดอยู่บ้านคุณตารวมถึงบ้านผมด้วยเพราะคุณพ่อผมซื้อแล้วเอาใส่ชื่อคุณยายเอาไว้ก็ยังโดนยึดอยู่ แล้วของที่เราโดนยึดไปเป็นของที่เราได้มาคุณตาได้มาตั้งแต่เป็นนายพัน ยังไม่ได้เข้าการเมือง บ้านที่ ซอยระนอง 2 ซื้อมามีสัญญาเรียบร้อยเลยว่า ซื้อจากใครมา ราคาเท่าไหร่ เอาเงินที่ไหนซื้อ ถ้าถามคนโบราณจะรู้ว่าคุณตาไม่ใช่คนคดโกง แล้วการตอบในระหว่างที่เราออกนอกประเทศไม่มีการพบการทุจริตเลย แต่ที่ยึดโดยความมั่นคง ตามกระแส แล้วสมบัติเราก็ไม่ได้เยอะอย่างที่เขาตีข่าวเลย “30 กว่าล้าน” ซึ่งมันน้อยมากเมื่อเทียบกับนักการเมืองตอนนี้

คุณตาได้เงินมาจากคุณพ่อของคุณยาย (หลวงจบกระบวนยุทธ) เป็นคนมีฐานะดี อยู่ จ.อยุธยาทำโรงงานนมกระป๋อง คุณทวดเป็นคนแรกที่เอาชูรสเข้ามาขายในไทย ที่ตอนนี้เป็น “ตราชฎา” แม้คุณตาจะไม่ได้เป็นคนรวยเลย ฉะนั้นจะเป็นที่ยอมรับเลยว่าคุณตาไม่ทุจริต แต่เด็กสมัยนี้ไม่เข้าใจ นึกว่าเป็นผู้ร้ายคอรัปชันอย่างนั้น-นี้ สมัยนั้นมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการยึดทรัพย์พยายามจะหาจุดผิด แล้วหาไม่เจอ อัยการยกฟ้อง แล้วข่าวที่อัยการยกฟ้องข่าวลงวันเดียว ไม่ใครช่วยประชาสัมพันธ์ให้ เลยไม่มีใครรู้ว่ามีการสอบสวนแล้วคุณตาไม่ผิดใด แต่เด็กเดี๋ยวนี้ไม่เข้าใจ  

Q: ได้ข่าวว่ามีคนเคยติดต่อมาขอซื้อทองคำด้วย

A : ใช่ เพราะเขาทราบจากข่าวสารมาว่าคุณตา “ขนทอง” ออกไปเยอะ จริงๆ เราก็ไม่มีเลยไม่มีสักบาท (หัวเราะ) อันนี้ยืนยัน เรายังนั่งขำว่ายังมีคนติดต่อมา เขาบอกว่าจะทำแบบลับๆ ไม่ให้คนรู้ เหล่านี้ไม่ค่อยมีคนรู้ คนนึกว่าผมรวยสบายแล้วผมก็ต้องสร้างของผมเองคุณพ่อก็เป็นข้าราชการไม่ได้รวยอะไร

Q : เวลาผ่านไป 37 ปี คุณคิดว่าสังคมไทยได้อะไรจากเหตุการณ์ครั้งนั้นบ้าง

A: ผมรู้สึกว่าสังคมน่าจะได้เยอะกว่านี้ จริงๆ ควรมีการชำระประวัติศาสตร์อย่างจริงจังที่มองเป็นเชิงวิชาการจริงๆ โดยที่ตกผลึกกับคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตอนนี้มีอาจจะสายเกิดไปด้วยซ้ำ เพราะคนที่อยู่ในเหตุการณ์เสียชีวิตไปเกือบหมดแล้ว น่าเสียดาย ถ้าเราได้ศึกษาจริงๆ ได้นำบทเรียนมา ความแตกแยกทางสังคมตอนมีเหลือง-แดง น่าจะลดน้อยลง 14 ตุลาจะเป็นตัวอย่างให้เราระลึกได้ว่าเมื่อเราแตกความสามัคคีกันเมื่อไหร่ยุ่งทันที ถ้าเราเอาประวัติศาสตร์มาย้อนดู เราจะเห็นว่าเราพลาดแล้ว โดยเฉพาะไอ้การยืนกระต่ายขาเดียวว่า “กูต้องเอาอย่างนั้น-นี้ ต้องแบ่งแยกสี” มันจะไม่โหดร้าย ไม่ทำให้ตกเป็นเครื่องมือใครง่ายๆ

Q : คุณมองเห็นพัฒนาการประชาธิปไตยอะไรบ้างนับตั้งแต่ 14 ตุลา

A : ธรรมดามากๆ ไม่ใช่เราย่ำอยู่กับที่มันเป็นกระบวนการที่มีการล้มลุกคุกคลาน อย่างกระบวนการที่อเมริกา อังกฤษ เขาก็ล้มลุก มีการฆ่ากันตาย ผมไม่ได้บอกว่าเป็นสิ่งดี ผมบอกว่า ถ้าเราล้มแล้วลุกขึ้นมาแล้วดูเป็นบทเรียนมันจะเกิดประโยชน์ เช่นการแบ่งแยกสีแดง-เหลือง มันก็เป็นปรากฏการณ์แบ่งแยกทางสังคมอย่างหนึ่ง ซึ่งมันเป็นประโยชน์เหมือนกัน เป็นเหตุการณ์ที่หลายประเทศผ่านมาแล้ว แล้วก็ก้าวผ่านไป ก็ช่วยๆ กัน ลดความขัดแย้ง เรากำลังเดินไปในทางที่ถูก ซึ่งอาจจะสะดุดก็ได้แต่ก็ต้องลุกขึ้น เขามาเรียกร้องประชาธิปไตยกันมากมาย

ถามว่าประชาธิปไตยคืออะไร ผมเชื่อว่าคนตอบ 100 คนก็ 100 นิยาม ยกตัวอย่าง ที่จีนมีระบบการปกครองของเขา เมื่อก่อนกลัวมาก ไม่ได้เลย กลัวว่าจะเป็นคอมมิวนิสต์  แต่หลายอย่างที่เป็นบทเรียนของจีนที่นำมาใช้ในการพัฒนาได้ เป้าหมายเราอยากให้สังคมสงบ มีความเจริญก้าวหน้ามีความเป็นอยู่ที่ดี เป้าหมายไม่ได้บอกว่าเราต้องเป็นประชาธิปไตย 100 % แบบสุดยอด เราไม่รู้ว่าสุดยอดจริงไหม ผมเชื่อว่าเป้าหมายของเราคือความสงบ ความสุขทุกๆ คนแฮปปี้ มีการศึกษาที่ดี มีความเป็นอย่างดีๆ บางครั้งเป็นประชาธิปไตยมากมันกลับกลายเป็นอุปสรรค ผมไม่ได้เหมาะว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ผมเพียงแต่บอกว่าอันไหนดีเรานำมาใช้ แต่ไม่ใช่บอกว่าเราจะเป็นประชาธิปไตย 100 % เหมือนประเทศ “อเมริกา” แล้ว “อเมริกา” มันดีขนาดไหนก็ยังไม่มีคำตอบ

Q: ในฐานะเป็นลูก หลานทหาร คุณมองบทบาทของทหารวันนี้อย่างไร

A: ผมดูบทบาทของ ประยุทธ์ จันโอชา ผบ.ทบ. คนใหม่ เวลานักข่าวสัมภาษณ์เกี่ยวกับประเด็นการเมืองท่านก็จะไม่แสดงความคิดเห็นเท่าไหร่ ซึ่งเป็นเรื่องดีมากๆ สำหรับผมว่าตอนนี้ทหารเรือ บก อากาศ เข้าใจบทบาทของตัวเองยืนอยู่บนหลักการจริงๆ ถามว่าแตกต่างจากเมื่อก่อนหรือไม่ ทหารตอนนั้นเข้ามามีบทบาททางความมั่นคงสูง เนื่องจากแรงคอมมิวนิสต์เยอะมีแรงกระเพื่อมนอกประเทศ มีโดมิโนต่างๆ มากมาย ฉะนั้นการบทบาทนำในเมืองการเมืองไม่เข้มแข็งทหารก็เข้ามา นายกฯอภิสิทธิ์ จะพูดเสมอว่า “ต้องทำการเมืองให้เข้มแข็ง ถ้าเข้มแข็ง ทุกคนรู้จักหน้าที่รู้จักสิทธิ์ นักการเมืองมีคุณภาพ ทหารเขาก็จะไม่เข้ามายุ่ง” ในสายตาผมทหารไม่ใช่คนร้าย ทหารเป็นประชาชนเหมือนกันเมื่อเกิดความวุ่นวายอันก่อให้เกิดความไม่สงบทหารก็จะเข้ามาได้ทหารก็เป็นคนที่มีส่วนร่วมในสังคมทหารก็มีสิทธิ์ที่จะทำอะไรเกี่ยวกับการเมืองได้ การเมืองก็เข้าในทำเรื่องของทหารได้ ทหารเป็นกลไกของรัฐ แต่ทหารได้เปรียบ ถ้าคิดว่าไม่ดี ถ้าตรงนั้นจะเผาบ้าน เผาเมือง เขามีคน มีอาวุธมีทุกอย่างที่จะทำให้มันสงบได้ แต่เราต้องรู้บทบาทของตัวเอง

ไทยรัฐออนไลน์วันพฤหัสบดีที่

Q: มีคนพูดว่าพลังนักศึกษาตอน 14 ตุลา กับพลังนักศึกษาในปัจจุบันแตกต่างกันมากวิเคราะห์ไหมเพราะอะไร

A: มันมีสิ่งเร้าเยอะทั้งห้าง ผับ บาร์ แต่ในพรรคประชาธิปัตย์ก็มีนักศึกษาเข้ามาฝึกงานเกี่ยวกับการเมืองมากนะ ซึ่งผมไม่ได้ตำหนิว่าใครสนใจหรือไม่สนใจว่าจะผิดอะไร สมัยนั้นคุณเสกสรรค์ ประเสริฐกุล คุณธีรยุทธ บุญมี มองซ้ายมองขวาหาที่ยึดเหนี่ยวไม่เจอ ต้องสู้ด้วยตัวเอง เพื่อประเทศชาติ อย่างไรก็ดีภาพรวมสนใจการเมืองน้อยไปหน่อย เพราะว่าสิ่งเรามันมากเหลือเกินก็ต้องแก้กันไป

Q: ทุกๆ วันที่ 14 ตุลาของทุกปีคุณจะทำอะไร

A: เป็นวันปกติวันหนึ่ง ไม่มีอะไรพิเศษ บางปีผมก็จะไปดูที่เขาจัดกิจกรรม 14 ตุลากัน เช่นที่รัฐสภา มันก็จะมีบอร์ดรำลึก 14 ตุลา ไปดูเพราะอยากรู้ว่าเขาสื่อข้อความอย่างไร ส่วนใหญ่บอร์ดจะไม่ค่อยให้รายละเอียดมากนัก แต่ก็ไม่อยากให้ภาพที่โหดร้ายเกินไปบางครั้งคนไม่รู้เอาภาพแขวนคอซึ่งเป็นเหตุการณ์วัน 6 ตุลา 2519 บางทีคนจัดจะมั่วๆ มา ตรงนี้ผมจะดูในเชิงอยากให้มีข้อเท็จจริงให้กับประชาชนมากที่สุด แล้วอยากให้ทราบว่า 6 ตุลา 2519 มีความเป็นมาอย่างไรไม่ใช่ว่าคุณตาเดินทางกลับมาอย่างเดียวแล้วก็เป็นแผนการที่จะทำให้วุ่นวาย

Q: คุณมองว่าในอนาคตเราจะเผชิญหน้ากับวิกฤตความขัดแย้งเหมือนกับเหตุการณ์ 14 ตุลาอีกไหม

A: มันเป็นคนละรูปแบบ อย่างปฏิวัติสมัยนี้เป็นไปโดยสงบ แต่ความขัดแยงมันจะไม่ได้ฝังราก เรารู้ว่าเขายังมีความรักความศรัทธา ไอ้สิ่งที่เขาไปหลอมเอาไว้ฝังจริงๆ การที่เราจะกลับไปเปลี่ยนไหม ทำได้ยาก อย่างเหตุการณ์นองเลือดผมไม่ฟันธงว่ามีไม่มี แต่โอกาสนองเลือกใหญ่มันน้อยลง ไม่อยากให้มันเกิดขึ้น แต่ว่าไอ้การแบ่งแยกต่างๆ มันยังไม่หายไปง่ายๆ

แต่สิ่งสำคัญ  "ผมไม่อยากให้คนเอาคุณตาผมไปเปรียบเทียบกับคุณทักษิณเพราะทั้ง 2 คนแตกต่างกันเกือบจะทุกอย่างๆ" คุณตาผมเป็นประชาธิปไตยกว่า กฎหมายไม่เห็นด้วยแก้กฎหมายเลย คุณตาไม่ใช้อำนาจเผด็จการ ไม่เอาผลประโยชน์ส่วนตัวมาเกี่ยวข้องกับเรื่องงาน ตรงนี้ชัดเจน คุณทักษิณ เบื้องหลังเป็นนักธุรกิจ คุณตาไม่มีธุรกิจ ไม่มีการเอื้อประโยชน์ส่วนตัว คุณตาไม่ได้มุ่งให้มีสมบัติมากขึ้นเหมือนกับอีกฝ่าย

Q: ถ้าจะแก้อดีตได้คิดว่าอยากจะแก้ไขอะไรในเหตุการณ์ 14 ตุลาบ้างไหม

A: อยากให้สังคมรับฟังมากขึ้นใช้ความคิดอย่าเชื่อคนกลุ่มเดียวและข้อมูลด้านเดียว อยากจะให้มีการศึกษารอบด้าน ฟังมาจากนักศึกษาก็จะได้ข้อมูลระดับหนึ่ง ซึ่งพวกเขาไม่มีทางจะรู้ได้เลยว่าข้อมูลลึกๆ ว่าตอนนี้ทหาร ฝ่ายการเมืองคิดอย่างไร เขาก็จะสู้ในมุมของเขา เขาต้องเรียกร้องประชาธิปไตย เรียกร้องการแก้รัฐธรรมนูญ

ดังนั้นเอกสารจะถูกเขียนโดนนักวิชาการ กลุ่มที่ผ่าน 14 ตุลาที่อยู่ในซีกของการเป็นนักศึกษา แต่ในส่วนที่หายไปก็คือในส่วนของคนที่เป็นทหาร ในตอนนั้นพูดออกมาคิดอย่างไร ตำรวจคิดอย่างไรพูดออกมา นักการเมืองคิดอย่างไร ครอบครัวผมคิดอย่างไร ตรงนี้สังคมต้องเปิดรับมากกว่านี้แล้วนำมาเป็นบทเรียน ในมุมมองของผมคุณตาเข้ามาในการเมือง เชื่อลูกน้อง ใช้อ่อนต่ออายุราชการ ถ้าผมเป็นคุณตาก็คงเข้าไปแก้ในจุดตรงนั้น.

未经允许不得转载:综合资讯 » ไทยรัฐออนไลน์วันพฤหัสบดีที่

赞 (0)
分享到:更多 ()