综合资讯
当前位置:综合资讯 > 资讯 > 泰国新闻 > 正文

จราจรกรุง 2011 จราจรไทยเชื่อมจราจรโลก

จราจรกรุง 2011 จราจรไทยเชื่อมจราจรโลก

จราจรกรุง 2011 จราจรไทยเชื่อมจราจรโลก

โลกในยุคโซเชียล เน็ตเวิร์ก ไม่เพียงที่การสื่อสารเท่านั้นที่จะเชื่อมติดต่อกันด้วยโครงข่ายไอทีที่ล้ำสมัย แต่การเดินทางจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง  ก็กำลังเชื่อมติดต่อกันเป็นหนึ่งเดียวโครงข่ายจราจรในประเทศไทยใน พ.ศ.2554 หรือ ค.ศ.2011 จะมีโครงข่ายการจราจรใหม่ๆหลายโครงการที่ก่อสร้างเสร็จและเปิดใช้ เพื่อเชื่อมการเดินทางภายในกรุงเทพฯ….เชื่อมการเดินทางระหว่างเมืองในประเทศ……

และเชื่อมการเดินทางจากประเทศไทยไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน……

——————————

บีทีเอสเชื่อม กทม.-สมุทรปราการ

เริ่มจากในกรุงเทพฯ ปีหน้าเราจะมีรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ใช้เดินทาง นั่นก็คือ ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว อ่อนนุช-แบริ่ง

จราจรกรุง 2011 จราจรไทยเชื่อมจราจรโลก

รถไฟฟ้าสายนี้เป็นการขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิท ที่เดิมสิ้นสุดที่สถานีอ่อนนุชออกไปอีก 5.25 กิโลเมตร หรือเพิ่มอีก 5 สถานี คือ สถานีบางจาก สถานีปุณณวิถี สถานีอุดมสุข สถานีบางนา และสถานีแบริ่ง เป็นสถานีสุดท้าย
โครงการนี้ กรุงเทพมหานครลงทุนก่อสร้างโครงสร้าง ทางวิ่ง สถานี ติดตั้งระบบไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถ (Signaling) เองทั้งหมด และจัดจ้างบริษัทบีทีเอส เป็นผู้จัดหารถมาวิ่งรับส่ง

รถไฟฟ้าสายอ่อนนุช-แบริ่ง มีกำหนดเปิดให้บริการในวันที่ 12 สิงหาคม 2554 โดยค่าโดยสารของรถไฟฟ้าเบื้องต้นได้ข้อตกลงว่า จะแยกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก คือ สายบีทีเอสเดิม ส่วนช่วงที่สอง คือ สายอ่อนนุช-แบริ่งของใหม่ ที่กรุงเทพมหานครจะจัดเก็บในอัตราที่เหมาะสม

จราจรกรุง 2011 จราจรไทยเชื่อมจราจรโลก

———————————–

กันยายนเริ่มใช้ตั๋วร่วมรถไฟฟ้า

ไล่เลี่ยกับการเปิดใช้รถไฟฟ้าสายใหม่ ผู้โดยสารรถไฟฟ้าทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดิน เอ็มอาร์ที จะมีประดิษฐกรรมชิ้นใหม่ของรถไฟฟ้าไว้ใช้ นั่นก็คือ ตั๋วร่วมของรถไฟฟ้า

โครงการนี้เป็นการร่วมลงทุนของรถไฟฟ้าบีทีเอส และ รถไฟฟ้าใต้ดิน เอ็มอาร์ที และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในวงเงินลงทุนราว 800 ล้านบาท

จราจรกรุง 2011 จราจรไทยเชื่อมจราจรโลก

หลักการ คือ ผู้โดยสารที่ใช้ตั๋วร่วมนี้ จะสามารถเดินทางเชื่อมต่อกันได้เลย โดยไม่ต้องเปลี่ยนตั๋วใหม่ ทั้งนี้ ระบบจะหักเงินจากมูลค่าตั๋วตามระยะการเดินทาง ซึ่งในอนาคต นอกจากจะใช้ได้กับรถไฟฟ้าทั้งสองบริษัทแล้ว ตั๋วร่วมนี้ยังมีแผนขยายให้ใช้ร่วมกับร้านค้า หรือบริการต่างๆด้วย

โครงการนี้มีแผนจะเริ่มให้บริการจริงในเดือนกันยายน โดยก่อนหน้านี้ บริษัทมีแผนทดลองใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน ด้วยการ

เปิดรับอาสาสมัครทดลองใช้ รวมทั้งให้พนักงานบริษัทบีทีเอส และ บีเอ็มซีแอล รวมทั้งพนักงานแบงก์กรุงเทพ ทดลองใช้เพื่อทดสอบระบบ และเตรียมความพร้อมก่อน

จราจรกรุง 2011 จราจรไทยเชื่อมจราจรโลก

—————————————

เปิดใช้ 2 อุโมงค์ 2 สะพานข้ามแยก

ในส่วนโครงข่ายถนน ในปีหน้า จะมีอุโมงค์ลอดทางแยกและสะพานข้ามแยกทั้งใน กทม. และปริมณฑลเปิดใช้หลายโครงการ เริ่มจากผลงานของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ โครงการอุโมงค์ลอดทางแยกอุดมสุข ตามแนวถนนศรีนครินทร์ มูลค่า 538 ล้านบาท

อุโมงค์แห่งนี้มีขนาด 4 ช่องจราจรไปกลับ กทม.ลงนามว่าจ้าง กิจการร่วมค้า ศรีนครินทร์ก่อสร้าง ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2551 โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2554 ทั้งนี้ ในจุดที่ใกล้เคียงกัน กรุงเทพมหานครก็มีการก่อสร้างสะพานลอยข้ามทางแยกประเวศ-อ่อนนุช มูลค่า 180 ล้านบาท โดยบริษัท ซิฟโก้ มีกำหนดแล้วเสร็จปลายปี 2554 เช่นกัน

จราจรกรุง 2011 จราจรไทยเชื่อมจราจรโลก

ทางด้านกรมทางหลวงชนบท โครงการอุโมงค์ลอดทางแยก ราชพฤกษ์-นครอินทร์ มูลค่า 794 ล้านบาท ที่ก่อสร้างมานานนับปี จนส่งผลให้การจราจรในถนนราชพฤกษ์และใกล้เคียงวุ่นวาย ก็ถึงคราวเสร็จสิ้นในปีนี้ โดยมีกำหนดเปิดใช้ในเดือนตุลาคม 2554

อุโมงค์ราชพฤกษ์ เป็นอุโมงค์ 6 ช่องจราจรไปกลับ ความยาว 650 เมตร บนถนนราชพฤกษ์ ลอดใต้วงเวียนจุดตัดถนนราชพฤกษ์-นครอินทร์ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ การเดินรถในบริเวณดังกล่าวจะจัดให้อุโมงค์ทางลอดเป็นการเดินทางตามแนวเหนือ-ใต้ โดยสะพานข้ามแยกเป็นการเดินทางในแนวตะวันออก-ตะวันตก ขณะที่วงเวียนยังคงใช้สำหรับรถที่จะเลี้ยวซ้ายและขวา เพื่อ เปลี่ยนทิศทางการเดินทาง

และในเดือนตุลาคม 2554 เช่นกัน โครงการก่อสร้างสะพานลอยข้ามแยกวงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ บางเขน ของกรมทางหลวง ที่ลงมือก่อสร้างมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 ก็ถึงกำหนดแล้วเสร็จ และเปิดการจราจร

สะพานลอยข้ามแยกวงเวียนอนุสาวรีย์ หลักสี่ ก่อสร้างตามแนวถนนแจ้งวัฒนะ-รามอินทรา ขนาด 4 ช่องจราจร ไปกลับ ระยะทาง 1.7 กิโลเมตร โดยมีการออกแบบให้ตอนกลางของวงเวียนเป็นสถานีของรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่ ในอนาคต

—————————-

ทางพิเศษบางพลีเชื่อมวงแหวนอุตฯ

ส่วนการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ปี 2554 มีโครงการใหม่แล้วเสร็จเปิดใช้เช่นกัน ได้แก่ โครงการเชื่อมต่อทางพิเศษบางพลี-สุขสวัสดิ์ กับวงแหวนอุตสาหกรรม

จราจรกรุง 2011 จราจรไทยเชื่อมจราจรโลก

โครงการนี้ การทางพิเศษฯว่าจ้างบริษัท ทิพากร ก่อสร้างด้วยวงเงิน 2,473 ล้านบาท ระยะเวลา 600 วัน เพื่อก่อสร้างทางยกระดับและถนนเชื่อมต่อทางพิเศษบางพลี-สุขสวัสดิ์ กับวงแหวนอุตสาหกรรม พร้อมด่านอาคารเก็บค่าผ่านทาง เพื่อให้การเดินทางจากทางพิเศษบางพลี-สุขสวัสดิ์ กับวงแหวนอุตสาหกรรม โดยเฉพาะรถบรรทุก สามารถเชื่อมต่อกันเป็นโครงข่ายเดียวกัน

โครงการนี้แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ส่วน จะทยอยแล้วเสร็จและเปิดใช้กลางปี 2554

———————–

เชื่อมภูมิภาค-สะพานสารสิน 2

ทางด้านการเชื่อมโครงข่ายจราจรในส่วนภูมิภาค ปีนี้มีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่จะแล้วเสร็จและเปิดใช้ที่สำคัญ คือ โครงการสะพานสารสิน 2 ที่จังหวัดภูเก็ต

โครงการนี้เป็นการก่อสร้างสะพานยกระดับข้ามทะเล เชื่อมระหว่างจังหวัดภูเก็ตกับจังหวัดพังงา โดยสร้างคู่ขนานกับสะพานสารสินเดิม และสะพานท้าวเทพกระษัตรี เป็นสะพานขนาด 2 ช่องจราจรไปกลับ ระยะทาง 655.05 เมตร

จราจรกรุง 2011 จราจรไทยเชื่อมจราจรโลก

ก่อสร้างโดยบริษัท อิตาเลียนไทย ด้วยวงเงิน 377 ล้านบาท ระยะเวลา 720 วัน ล่าสุดผลงานก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 70% โดยประมาณเดือนมิถุนายน 2554 จะแล้วเสร็จ และเปิดการจราจรได้

และในปีนี้เช่นกัน ประมาณเดือนเมษายน 2554 จะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการของสะพานเทพสุดา หรือสะพานข้ามอ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์……สะพานแห่งนี้นอกจากจะเป็นสะพานสายเศรษฐกิจสำหรับขนส่งสินค้าทางการเกษตร ที่สามารถร่นระยะทางเดินทางจากจังหวัดหนองคายไปมุกดาหารได้ถึง 160 กม.แล้ว

สะพานแห่งนี้ยังมีทิวทัศน์สวยงาม และมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอยู่ใกล้ๆคือ อำเภอสหัสขันธ์ ที่มีพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ทำให้สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ได้อีก

———————————-

สะพานไทยลาว 3 เชื่อมไทยสู่โลก

ไฮไลต์ของโครงการโครงข่ายจราจรที่จะแล้วเสร็จและเปิดในปี 2554 ได้แก่ โครงการสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 จังหวัดนครพนม กับแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

จราจรกรุง 2011 จราจรไทยเชื่อมจราจรโลก

สะพานนี้เป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยไปสู่ภาคกลางของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แนวเส้นทางเริ่มก่อสร้างเป็นถนน 4 เลน จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 ช่วงนครพนม-ท่าอุเทน กม.ที่ 8+448 โดยช่วงเชิงสะพานที่เป็นที่ตั้งของด่านศุลกากรฝั่งไทย ออกแบบเป็นสถา-ปัตยกรรมล้านช้างถ่ายทอดจากเอกลักษณ์ของวัดในจังหวัดนครพนม ที่นิยมทำเป็นรูปทรงของยอดพระธาตุเป็นรูปบัวเหลี่ยม

เมื่อผ่านด่านศุลกากร แนวเส้นทางจะก่อสร้างเป็นทางยกระดับ ขนาด 2 ช่องจราจร ข้ามแม่น้ำโขง ด้วยความยาว 780 เมตร หลังจากข้ามไปถึงฝั่งลาว แนวเส้นทางจะก่อสร้างเป็นถนนถมคันสูงขนาด 2 ช่องจราจรไปกลับ จนถึง กม.ที่ 3+950 ถนนจะไขว้สลับทาง เนื่องจากลาวใช้การเดินรถทางด้านขวา จนถึง กม.ที่ 4+500 ซึ่งเป็นด่านศุลกากร แนวถนนจะปรับเป็นขนาด 4 เลน สิ้นสุดโครงการที่บ้านเวินใต้ รวมระยะทางทั้งสิ้น 5.2 กิโลเมตร

สะพานแห่งนี้ใช้งบประมาณก่อสร้างรวม 1,723 ล้านบาท ก่อสร้างโดยบริษัทอิตาเลียนไทยฯ ระยะเวลาก่อสร้าง 900 วัน ล่าสุดผลงานคืบหน้า 70% แล้วเสร็จและเปิดการจราจรได้ประมาณเดือนพฤศจิกายน 2554

และด้วยโครงข่ายของสะพานแห่งนี้ จะทำให้การคมนาคมระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีโครงข่ายที่เพิ่มมากขึ้นอีก 1 เส้นทาง

หรือคงจะกล่าวได้ไม่ผิดว่า จราจรไทย กำลังเชื่อมกับจราจรโลก!!!!!

ฝ่ายข่าว กทม.-จราจร

รายงาน

未经允许不得转载:综合资讯 » จราจรกรุง 2011 จราจรไทยเชื่อมจราจรโลก

赞 (0)
分享到:更多 ()