综合资讯
当前位置:综合资讯 > 资讯 > 泰国新闻 > 正文

เงื่อนงำวิกฤติน้ำมันปาล์ม! กลไกรัฐพิการหรือม่านทุจริตบังตา

เงื่อนงำวิกฤติน้ำมันปาล์ม! กลไกรัฐพิการหรือม่านทุจริตบังตา

หลังจากที่องค์กรระหว่างประเทศ 3 องค์กร ได้แก่ กองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) องค์การอาหารและเกษตรของสหประชาชาติ (เอฟเอโอ ) และธนาคารโลก ได้ส่งสัญญาณด้วยการออกรายงานพร้อมๆ กันในช่วงปลายเดือน ม.ค. ต่อเนื่องต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา

เพื่อเตือนปัจจัยเสี่ยงร้ายแรงของ โลกในปีนี้จะเกิด"วิกฤติราคาอาหารโลกที่จะพุ่งสูงขึ้นสู่ระดับอันตราย" รวมถึงแสดงความกังวลถึงความเป็นไปได้ที่ "วิกฤตการณ์การขาดแคลนอาหารโลก" ที่เคยเกิดในปี 2550-2551 จะย้อนกลับมาอีกครั้ง

โดยระบุด้วยว่า "ความมั่นคงด้านอาหาร ได้กลายเป็นปัญหาต่อความมั่นคงของโลกแล้วในขณะนี้"

รัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างแสดงความเป็นห่วง และเตรียมแนวทางเพื่อรับมือสถานการณ์ ที่จะเกิดขึ้น !!!

แต่ สำหรับประเทศไทย วันนี้เรายังไม่ เห็นรัฐบาลจะเตรียมมาตรการรับมือใดๆ หรือมีความกระตือรือร้นที่จะแก้ไขปัญหา ซึ่งอาจเป็นเพราะ "วิกฤติการขาดแคลนอาหารบริโภค"  ในประเทศไทย  อยู่ไกลเกินกว่าวิสัยทัศน์ที่รัฐบาลจะคำนึงถึง

เงื่อนงำวิกฤติน้ำมันปาล์ม! กลไกรัฐพิการหรือม่านทุจริตบังตา

สุเทพ เทือกสุบรรณ

ที่เลวร้ายไปกว่านั้น ไม่น่าเชื่อว่าประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น "อู่ข้าวอู่น้ำ" อย่างประเทศไทย ประเทศที่ได้ชื่อว่า "ครัวของโลก" วันนี้กลับกำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลน ถึงกับต้องแย่งซื้อ "น้ำมันปาล์มขวด" จนถึงกับมีการชกต่อยกันหัวร้างข้างแตกกันมาแล้ว

ยิ่งเมื่อเจาะไปยัง โครงสร้างของระบบน้ำมันปาล์ม ตั้งแต่การผลิต ราคา การกระจายสินค้า และการจัดจำหน่าย รวมถึงข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับวางนโยบาย "ปาล์ม" ซึ่งกลายเป็นพืชสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ กลับพบแต่ความว่างเปล่า กลวงโบ๋ ไร้ประสิทธิภาพ และมีการทุจริตคอรัปชันเข้ามาเกี่ยวข้อง

"ทีม เศรษฐกิจ" ได้พยายามรวบรวมข้อมูลที่เป็นสาเหตุให้เกิด "วิกฤติน้ำมันปาล์ม" ในครั้งนี้ เพื่อยกเป็นตัวอย่างถึงความล้มเหลวในการบริหารจัดการ "สินค้าเกษตรหลัก" ของประเทศ และต้องการให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะรัฐบาลที่มีหน้าที่โดยตรงในการดูแลตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่เกิด ขึ้นอย่างรอบด้าน

เปิดความจริงวิกฤติน้ำมันปาล์ม

สำหรับ ชาวบ้านร้านรวงทั่วไป ที่จนถึงวันนี้ยังหาซื้อน้ำมันปาล์มขวดไม่ได้ หรือต้องซื้อน้ำมันปาล์มในราคาที่แพงกว่าราคาควบคุมของกระทรวงพาณิชย์ที่ 47 บาทต่อลิตรเกือบเท่าตัว คงอยากรู้ความจริงถึง "สาเหตุสำคัญของการขาดแคลนน้ำมันปาล์ม" ว่ามีจากปัจจัยใดกันแน่

ระหว่าง การไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการผลผลิตปาล์มน้ำมันของกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ที่ไม่มีปัญญาดูแลผลผลิตให้ออกมาอย่างเพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น

การ ปล่อยให้มีการกักตุน ซุกซ่อน หรือทุจริตคอรัปชันในช่วงการจำหน่ายน้ำมันปาล์มขวดของกระทรวงพาณิชย์ หรือเกิดจากนโยบายพลังงานทดแทนของประเทศ ที่ต้องใช้น้ำมันปาล์มดิบเป็นจำนวนมากในแต่ละวันเพื่อไปผลิตไบโอดีเซล หรือเกิดจากทุกปัจจัยประดังเข้ามาพร้อมกัน

เงื่อนงำวิกฤติน้ำมันปาล์ม! กลไกรัฐพิการหรือม่านทุจริตบังตา

เรื่องแรกคือ ผลผลิตปาล์มในปีนี้ขาดแคลนหรือไม่ ข้อมูลล่าสุด ปี 2553 กระทรวงเกษตรฯรายงานว่า เรามีพื้นที่ปลูกปาล์มที่ให้ผลผลิตแล้ว 3.5 ล้านไร่ ผลิตผลปาล์มสดได้ 8,223,135 ตัน นำมากลั่นเป็นน้ำมันปาล์มดิบได้ 1,287,509 ตัน แบ่งใช้บริโภคในประเทศมากที่สุด 977,781 ตัน หรือ 70% ใช้ผลิตไบโอดีเซล 379,500 ตัน หรือ 29% ที่เหลือส่งออกประมาณ 1% หรือ 63,321 ตัน

ขณะที่การขาดแคลนน้ำมันปาล์มนั้น รายงานสถานการณ์ ปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์ม ซึ่งกระทรวงเกษตรฯรายงานต่อ

"คณะ กรรมการนโยบายปาล์มแห่งชาติ" หรือ กนป. ระบุว่า ภัยแล้งในช่วงปลายปี 2552 ต่อต้นปี 2553 ส่งผลให้ผลผลิตปาล์มในปี 2553 ลดลงจากปีก่อน ซึ่งสวนทางกับความต้องการน้ำมันปาล์มที่เพิ่มขึ้น

โดยเริ่มเห็นสต๊อก ของปาล์มน้ำมันลดลงมากตั้งแต่เดือน ก.ย.2553 จนกระทั่งสต๊อกในเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมาลดลงมาอยู่ที่ 67,787 ตัน ซึ่งต่ำกว่าปริมาณสต๊อกที่เหมาะสมที่ควรอยู่ที่ 120,000 ตัน ส่งผลให้ กนป.อนุมัตินำเข้าน้ำมันปาล์มดิบลอตแรก 30,000 ตันในเดือน ม.ค. 54

แต่ ดูเหมือนการนำเข้าลอตแรกยังไม่เพียงพอ เพราะผลจากภาวะภัยแล้งช่วงต้นปี ซ้ำเติมด้วยปัญหาน้ำท่วมในช่วงปลายปี ได้ทำให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันในช่วงเดือน ม.ค. และ ก.พ.2554 จะลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน 47.45% และ 41.18% ตามลำดับ ทำให้ปัญหาขาดแคลนน้ำมันปาล์มยังคงมีอยู่

กนป.จึงอนุมัติ ให้นำเข้าน้ำมันปาล์มระลอก 2 อีก 120,000 ตัน รวมทั้งปรับเปลี่ยนการผลิตน้ำมันดีเซลจากที่ผสมไบโอดีเซล 3% หรือบี 3 เหลือ 2% หรือบี 2 ชั่วคราว จนถึงสิ้นเดือน มี.ค.ที่จะถึงนี้

เงื่อนงำวิกฤติน้ำมันปาล์ม! กลไกรัฐพิการหรือม่านทุจริตบังตา

เกษตรฯ "ต้นตอขาดแคลน"

เมื่อย้อนไปพิจารณา "แผนยุทธศาสตร์การจัดการพื้นที่การเพาะปลูกปาล์ม 5 ปี" (ปี 2551-2555) เพื่อรองรับการผลิตไบโอดีเซล ซึ่งตั้งเป้าขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม 3 ล้านไร่ ในเวลา 5 ปี

จะเห็นว่า ผลงานของกระทรวงเกษตรฯล้มเหลว เพราะ 3 ปีที่ผ่านมา (2551-2553) ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มได้เพียง 590,000 ไร่ ซึ่งไม่มีทาง เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นภายในประเทศ

ตลอด ช่วงที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯนิ่งเฉย ไร้ประสิทธิภาพ ไม่พยายามส่งเสริม และเสาะหาพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น ทั้งยังไม่มีความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันจากยุค ไดโนเสาร์มาสู่ยุคใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ไม่ใช้ระบบจัดเขตพื้นที่การผลิตพืชเกษตร หรือโซนนิ่งอย่างจริงจัง หรือแม้แต่การใช้การตัดแต่งพันธุกรรมพืช (จีเอ็มโอ) ในพืชที่ผลิตพลังงานทดแทนโดยเฉพาะเรื่องนี้ "อภิชาต จงสกุล" เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ยอมรับว่า "ในขณะนี้ทุกประเทศหันมาให้ความสำคัญทางด้าน เทคโนโลยีเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่มากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตอาหารให้ทันต่อความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้นทุก วัน"

แต่สำหรับบ้านเรานั้น การศึกษาเรื่อง "จีเอ็มโอ" กลับล้าหลัง ไม่มีแม้แต่ การทดลองภาคสนาม ความรู้ด้านนี้ของเรา จึงหยุดชะงัก ซึ่งส่วนหนึ่งเพราะเอ็นจีโอ ต่อต้านอย่างหนัก

ทั้งที่ ในข้อเท็จจริงปัจจุบัน ประเทศไทยยังมีการนำเข้าพืชจีเอ็มโอเหล่านี้จำนวนมาก เช่น ถั่วเหลืองที่เอาไปสกัดเป็นน้ำมัน หรือข้าวโพดที่เอาไปใช้เลี้ยงสัตว์ มูลค่านำเข้าสูงถึง 16,000 ล้านบาทต่อปี ในขณะ ที่หลายประเทศยอมรับและใช้เทคโนโลยีนี้เต็มตัว เช่น สหรัฐอเมริกาและจีนที่เอามาปลูกข้าวเลี้ยงคนในประเทศ ดังนั้น หากไทยจะหันมาใช้เทค- โนโลยีในการผลิตพืชน้ำมันและพลังงานทดแทนก็เป็นทางเลือกที่ดี

แต่หาก กระทรวงเกษตฯ ยังเลือกที่จะเพิกเฉยไม่สนใจมองไปข้างหน้า คิดทำงานให้จบไปแค่วันๆ อนาคต "พืชเกษตร" ไทยก็คง "จมปลัก" อยู่ในวังวนของวิกฤติไม่สิ้นสุด รวมทั้งยังจะกระทบต่อ "แผนพัฒนาพลังงานทดแทน" ซึ่งถือเป็นหลักประกันความเป็นอยู่ของคนในประเทศในวันข้างหน้าอีกด้วย

เงื่อนงำวิกฤติน้ำมันปาล์ม! กลไกรัฐพิการหรือม่านทุจริตบังตา

ระบบบริหารจัดการล้มเหลว

อย่างไรก็ตาม วิกฤติน้ำมันปาล์มครั้งนี้ อาจไม่ส่งผลกระทบรุนแรงเช่นที่เกิดขึ้นในขณะนี้ได้ หากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการเตรียมการรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที!!!

แต่ตรง กันข้าม ทั้งที่ กนป.ได้เห็นข้อมูลสต๊อกน้ำมันปาล์มที่ลดลงอย่างมากในเดือน ก.ย. และได้เห็นภัยพิบัติิที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี แทนที่จะเพิ่มมาตรการเฝ้าระวังหรือแก้ไขปัญหาที่เข้มข้นขึ้น กนป.กลับนิ่งเฉย ไม่เตรียมแผนสำรองล่วงหน้ารองรับภาวะขาดแคลนที่จะเกิดขึ้น

กระ ทรวงเกษตรฯ ไม่คิดจะ "ดิ้นรน" เพิ่มพื้นที่เพาะปลูกสำรองใดๆ หนำซ้ำ กนป.ยังอนุมัติให้ส่งออกน้ำมันปาล์มในเดือน ก.ย.ไปอีก 21,660 ตัน และส่งออกต่อเนื่องในเดือน ต.ค. อีก 9,414 ตัน

ยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่มีการเสนอให้ปรับลดการใช้น้ำมันปาล์มในการผลิตไบโอดีเซล หรือลดการใช้ไบโอดีเซลจากบี 5 ลง เพื่อประคับประคองสถานการณ์และการขาดแคลนไม่ให้กระทบการบริโภคในประเทศ

ขณะ ที่การอนุมัตินำเข้าน้ำมันปาล์มดิบ 2 รอบ รอบแรก 30,000 ตัน และรอบ 2 อีก 120,000 ตัน ไม่ได้ทำให้ปัญหาขาดแคลนคลี่คลายแต่กลับรุนแรงมากขึ้น ขณะที่น้ำมันถั่วเหลืองที่ผลผลิตไม่ได้ขาดแคลนก็พลอยหายไปจากตลาดอย่างไร้ ร่องรอย ส่งผลให้บรรดาพ่อค้าแม่ค้าของทอดเดือดร้อนอย่างมาก

กล้วยแขก ปาท่องโก๋ ไก่ทอด หมูทอด เนื้อทอด หลายพื้นที่ขอขึ้นราคา!!!

ทั้งนี้ ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุว่า สถานการณ์ที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันขาดแคลนหนักนั้น เกิดขึ้นประมาณ 4 เดือน คือในเดือน พ.ย.2553- เดือน ก.พ.2554 โดยช่วงนั้นมีความต้องการบริโภคอยู่ที่ 400,000 ลิตร แต่จะมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดจริงประมาณ 232,000 ลิตรเท่านั้น

แต่การ ขาดแคลนนี้ถือเป็นช่วงสั้นๆ เท่านั้น หากบริหารจัดการให้ดี เราอาจไม่ต้องเผชิญวิกฤติที่รุนแรงเช่นนี้ เพราะในช่วงปลายเดือน มี.ค.นี้ จะมีผลปาล์มฤดูกาลใหม่เข้ามาจนเพียงพอกับการความต้องการไปจนถึงปลายปี เพราะหากไม่นับผลผลิตที่ลดลงผิดปกติในช่วง 2 เดือนแรกของปี ตัวเลขเฉลี่ยปี 2554 นี้ ผลผลิตปาล์มของไทยจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 11.56%

โดยผลผลิต ที่จะเพิ่มขึ้นนั้น ทางแก้ปัญหาแบบขายผ้าเอาหน้ารอด ของ กนป.คือ พยายามยัดเยียดน้ำมันปาล์มที่เหลือให้กระทรวงพลังงานไปผลิตไบโอดีเซลเพิ่ม เช่น จากบี 3 เป็นบี 5 หรือบี 10 ทั้งที่กระทรวงพลังงานไม่มีความมั่นใจว่า รถยนต์บ้านเราจะสามารถรองรับน้ำมันดีเซลบี 10 ได้ทันทีหรือไม่

ทั้งหมดข้างต้น แสดงถึงการบริหารจัดการที่ล้มเหลว!!!

เงื่อนงำวิกฤติน้ำมันปาล์ม! กลไกรัฐพิการหรือม่านทุจริตบังตา

ทุจริตโควตานำเข้าซ้ำเติมวิกฤติ

แต่นอกเหนือจากบทเรียนของการ บริหาร งานแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ผิดพลาดแล้ว อีกบทเรียนที่เราต้องจดจำจากวิกฤติขาดแคลนน้ำมันปาล์มในครั้งนี้ ว่าเป็นตัวซ้ำเติมสถานการณ์มากขึ้น คือ "วาระซ่อนเร้น" ในการแก้ไขปัญหาของฝ่ายการเมือง

เพราะ การปล่อยแต่ละหน่วยงานหลับหูหลับตาแก้ไขปัญหากันไปภายใต้มุมมองของตน เปิดโอกาสให้บางคนบางฝ่ายฉกฉวย "วิกฤติให้เป็นโอกาส" หาผลประโยชน์จากความเดือดร้อนเข้ากระเป๋า

จนถึงบัดนี้ การขออนุมัตินำเข้าน้ำมันปาล์มเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในรอบที่ 2 กลับไม่เกิดขึ้น เพราะมีความพยายามต่อรองผลประโยชน์ของ ผู้ใกล้ชิด "นักการเมือง" บางคน ที่มีมูลค่าสูงกว่า 1,000 ล้านบาท

ข้อมูลจาก สมาคมน้ำมันปาล์ม ระบุว่า มติ ที่ กนป.ให้นำเข้าน้ำมันปาล์มรอบ 2 จำนวน 120,000 ตัน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ก.พ.54 จนถึงขณะนี้ที่ผ่านมากว่า 20 วันแล้ว ยังไม่มีการนำเข้า

โดย กระทรวงพาณิชย์อ้างเหตุผลว่า อยู่ระหว่างการเจรจาต่อรอง เนื่องจากราคานำเข้าน้ำมันปาล์มดิบสูงขึ้น และจำเป็นต้องนำเรื่องขออนุมัติต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อขอปรับขึ้นราคาจำหน่ายน้ำมันปาล์มขวดระลอก 2 สูงขึ้นอีก 9 บาทต่อลิตร ทำให้ราคาขายเพิ่มขึ้นเป็น 56 บาทต่อลิตรก่อน

เงื่อนงำวิกฤติน้ำมันปาล์ม! กลไกรัฐพิการหรือม่านทุจริตบังตา

พรทิวา นาคาศัย

แต่เบื้องหลังความ พยายามในการปรับขึ้นราคา และบริหารการนำเข้าโควตาปาล์มน้ำมันข้างต้นนี้ แท้ที่จริงล้วนเกี่ยวพันกับการหาผลประโยชน์ใส่กระเป๋าของนักการเมือง

เพราะ การเจรจานำเข้าน้ำมันปาล์มในครั้งนี้ มีฝ่ายไทยยื่นข้อเสนอกับบริษัทผู้จำหน่ายน้ำมันปาล์มในมาเลเซียและ อินโดนีเซียเรียกค่าหัว คิวตันละ  10 เหรียญสหรัฐฯ ขณะเดียวกัน ยื่นข้อเสนอมายังบริษัทเอกชนในประเทศว่าจะขายให้ในราคาตันละ 1,380 เหรียญสหรัฐฯ กินส่วนต่างรวม 80 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน นอกจากนั้น ยังมีการเสนอชงขึ้นราคาน้ำมันปาล์มขายปลีกรอบ 2 แลกกับค่าหัวคิวลิตรละ 1 บาท

เรียกว่ากินกันทุกเม็ด กินกันเบ็ดเสร็จ 3 ต่อ 3 เด้ง โดยไม่สนใจว่าคนไทยอีก 60 ล้านคนจะเดือดร้อนหรือทุกข์ยาก

ในเวลาเช่นนี้ที่มีการพยากรณ์กันถึง "วิกฤติอาหารของโลก" ว่ากำลังคืบคลานเข้ามา

หาก ประเทศไทยได้มีการยกเครื่องระบบจัดการการผลิต การจำหน่ายพืชเกษตร รวมถึงพืชพลังงาน ให้ดีขึ้นอย่างครบวงจรกว่านี้ เกษตรกรไทย และเศรษฐกิจไทยจะได้ประโยชน์ และความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นอีกมาก

เพราะ จากพื้นที่การเกษตร 130 ล้านไร่ของไทยวันนี้ เรามีพื้นที่ที่เข้าถึงระบบชลประทานเพียง 28 ล้านไร่เท่านั้น ถ้าเปลี่ยนแปลงเพิ่มผลผลิต สร้างระบบชลประทานให้ดี และอุดช่องโหว่การทุจริตได้

เราอาจเปลี่ยนวิกฤติการขาดแคลน ทั้งที่เกิดในประเทศของเรา และทั่วโลกที่เผชิญอยู่นี้ ให้เป็นโอกาสก็ได้.

ทีมเศรษฐกิจ

未经允许不得转载:综合资讯 » เงื่อนงำวิกฤติน้ำมันปาล์ม! กลไกรัฐพิการหรือม่านทุจริตบังตา

赞 (0)
分享到:更多 ()