综合资讯
当前位置:综合资讯 > 资讯 > 泰国新闻 > 正文

บทเรียนของประชาธิปัตย์กับพลังที่เพื่อไทยประมาทไม่ได้

บทเรียนของประชาธิปัตย์กับพลังที่เพื่อไทยประมาทไม่ได้

ผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่อาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา กับชัยชนะที่เหนือความคาดหมายของพรรคเพื่อไทย และความพ่ายแพ้ของพรรคประชาธิปัตย์ ได้สร้างความยินดีปรีดาให้กับผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย และสร้างความเศร้าเสียใจให้กับแฟนคลับของพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยอารมณ์ที่แตกต่างกันไป
ความดีใจและเศร้าเสียใจทั้งหลายที่สะท้อนออกมาทาง Social Media ส่วนใหญ่เป็นไปแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย โดยที่ฝ่ายชนะก็ไม่ได้เยาะเย้ยถากถางผู้แพ้มากนัก ขณะที่ผู้แพ้ก็เก็บอาการได้ดี ไม่ตีโพยตีพาย แต่ไม่มีใครรับรองได้ว่าบรรยากาศที่น่าจะเอื้อต่อการปรองดองเช่นนี้ จะอยู่กับพวกเราคนไทยไปอีกนานแค่ไหน
พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะผู้แพ้อาจยังคงมึนงงกับผลการเลือกตั้งที่ออกมา แม้ในความเป็นจริงแล้ว จำนวน ส.ส.ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับ 159 เสียง ไม่ได้เกินจากความคาดหมายมากนัก เพราะขณะที่ยังรักษาที่นั่งส่วนใหญ่ใน กทม.ไว้ได้ แต่ในจังหวัดอื่นๆ ยกเว้นภาคใต้และสุโขทัย ประชาธิปัตย์แทบจะไม่ได้ ส.ส.ในพื้นที่ใหม่ๆ เข้ามาเลย
ในทางกลับกัน พื้นที่ที่ประชาธิปัตย์เคยชนะแบบถล่มทลายแบบยกจังหวัด โดยเฉพาะที่ชลบุรีจาก 8 ที่นั่งเหลือเพียงที่นั่งเดียว ขณะที่จังหวัดปริมณฑล ทั้งนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ที่เคยมี ส.ส.อยู่บ้าง กลับไม่ชนะเลือกตั้งเลยแม้แต่เขตเดียว ทั้งนี้ ยังไม่รวมใน กทม.ที่เสียให้เพื่อไทยไปถึง 10 เขต จาก 33 เขต
ครั้นจะไปหวังพึ่งพาเสียงของพรรคภูมิใจไทย ที่คาดหวังจะได้ ส.ส.ถึง 70 ที่นั่ง ก็ปรากฏว่าทำได้เพียง 34 ที่นั่ง ดังนั้น โอกาสที่จะกลับมาเป็นรัฐบาลอีกสมัย จึงสลายหายไปในชั่วข้ามคืน
แกนนำและผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์บางส่วน พยายามโทษว่า ความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มาจากปัจจัยเรื่องเงินหรือการซื้อเสียง แต่ในสภาพความเป็นจริง แกนนำประชาธิปัตย์และภูมิใจไทยต่างรู้ดีว่า “เงิน” ไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาดในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่ “กระแส” และการทำงานกับมวลชนอย่างสม่ำเสมอของพรรคเพื่อไทย ที่สอดประสานกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีส่วนอย่างมากต่อชัยชนะครั้งนี้
ดังนั้น สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์จะต้องนำมาเป็นบทเรียน หากต้องการจะกลับมาเป็นรัฐบาลด้วยการชนะในสนามเลือกตั้ง มากกว่าการรอคอยโชคชะตาให้พรรคเพื่อไทยสะดุดขาตัวเอง เหมือนพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนในอดีตแล้วละก็ พรรคประชาธิปัตย์ต้องปรับกลยุทธ์การทำงานการเมืองแบบยกเครื่องใหม่หมด
การปราศรัยหาเสียงหรือการลงพื้นที่พบปะประชาชนแบบเดิมๆ ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง ย่อมไม่เพียงพอต่อการสร้างคะแนนนิยม ที่สามารถแปรเปลี่ยนมาเป็นคะแนนเสียงในวันเลือกตั้งได้อีกต่อไป เพราะจริงๆ แล้ว แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ที่คุมกลไกรัฐมากว่า 2 ปี ย่อมรู้ดีถึงวิธีการสร้างฐานมวลชนของพรรคเพื่อไทย ที่มีเครือข่ายคนเสื้อแดงเป็นกำลังสำคัญกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ที่เป็นฐานที่มั่นสำคัญทั้งภาคเหนือ อีสานและภาคกลางอีกหลายจังหวัด
จะว่าไปแล้ว จากคะแนนเสียงในระบบบัญชีรายชื่อกว่า 11 ล้านเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ น่าจะเป็นฐานข้อมูลชั้นดีที่พรรคประชาธิปัตย์จะนำมาเป็นการบ้าน ในการวิเคราะห์ถึงจุดอ่อนจุดแข็งของพรรคในพื้นที่ต่างๆ แล้วปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการมุ่งสร้างฐานมวลชนอย่างจริงจังในช่วงที่บุคคลากรส่วนใหญ่ของพรรคไม่ต้องสาละวนกับการบริหารราชการแผ่นดินในฐานะรัฐบาล
และนี่เป็นทางเลือกที่จำเป็น จะต้องเดินไปควบคู่กับการทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล ที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำอย่างเข้มข้นและสร้างสรรค์อย่างที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการหัวหน้าพรรค ประกาศไว้เป็นสัญญาประชาคม โดยต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานในสภาผู้แทนราษฎร ให้สอดคล้องกับบริบททางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ความนิยมของประชาชนที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ การอาศัยใบบุญเก่า หรือการรอให้พรรคคู่แข่งสะดุดขาตัวเองอาจไม่เกิดขึ้นง่ายๆ อีกแล้ว เนื่องจากแกนนำพรรคเพื่อไทยเอง โดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร น่าจะมีบทเรียนมาแล้วเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ในด้านของพรรคเพื่อไทยเองที่แม้จะประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งด้วยปัจจัยต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า หนทางข้างหน้าในฐานะแกนนำรัฐบาล ที่มีอำนาจการต่อรองสูง เพราะมีจำนวน ส.ส.ถึง 265 ที่นั่ง เพราะคนส่วนใหญ่ทราบกันดีว่า หัวหน้าพรรคหรือผู้มีอำนาจสิทธิขาดในพรรคตัวจริง ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย
การตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ของพรรค ตั้งแต่การแต่งตั้งคนมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในกระทรวงต่างๆ ล้วนต้องรอการ “เคาะ” จากคนที่อยู่ภายนอกประเทศทั้งสิ้น นอกจากนี้ จำนวนบุคลากรที่จะมาเป็นมือเป็นไม้ในการขับเคลื่อนนโยบายพรรคให้เป็นไปตามที่สัญญากับประชาชนไว้ในช่วงเลือกตั้ง ก็ไม่มากเหมือนสมัยที่พรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล
บรรดาแกนนำของพรรคที่ได้รับเลือกเป็น ส.ส.แต่ไม่ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี ย่อมไม่สามารถเข้ามามีบทบาทในฝ่ายบริหารได้ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันห้ามไว้ ซึ่งเรื่องนี้ เป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลประชาธิปัตย์ไม่สามารถผลักดันนโยบายต่างๆ ออกไปได้อย่างทันท่วงที จนถูกกล่าวหาว่า “ดีแต่พูด”
นี่ยังไม่นับปัญหาการสร้างความสมดุลทางอำนาจ ระหว่างแกนนำของพรรคที่เป็น ส.ส.เดิม กับกลุ่มแกนนำ นปช.ที่ได้รับเลือกเข้ามาเป็น ส.ส.ในคราวนี้ รวมถึงปัญหาการบริหารความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อนโยบายสวยหรูต่างๆ ที่เคยสัญญาในช่วงหาเสียง ซึ่งหากไม่สามารถทำได้อย่างที่ประกาศไว้ ก็อาจย้อนกลับมาเป็นหอกทิ่มแทงพรรคได้ไม่ยาก
แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่แกนนำพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะคนที่อยู่นอกประเทศจะประมาทไม่ได้ นั่นก็คือ การตรวจสอบจากชาว Social Media ที่นับวันจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และคนกลุ่มนี้เอง เป็นคนกลุ่มเดียวกับที่แกนนำพรรคเพื่อไทยบางคน เคยยอมรับว่า ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นฐานเสียงของพรรค
แม้ว่ากลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณและพรรคเพื่อไทย จะเคยประสบความสำเร็จในการใช้ New Media โดยเฉพาะเว็บไซต์เป็นเครื่องสื่อสารเพื่อต่อสู้กับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและรัฐบาลประชาธิปัตย์มาแล้วก็ตาม…

ヨヨ

未经允许不得转载:综合资讯 » บทเรียนของประชาธิปัตย์กับพลังที่เพื่อไทยประมาทไม่ได้

赞 (0)
分享到:更多 ()