ศาลโลกอาจมีคำสั่งในวันที่ 18 ก.ค. เป็นได้ 3 แนวทาง ศาลมีคำสั่งระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราว หรือยกคำร้องกัมพูชาในส่วนมาตรการคุ้มครองชั่วคราว สุดท้ายศาลยกคำร้องกัมพูชาทั้งหมด ไม่ต้องตอบว่า ประเทศไทยอยากให้ศาลโลก มีคำพิพากษาออกมาในทิศทางใด นั่นคือแนวทางที่ 3 แต่จะเป็นอย่างที่ทุกคนคาดหวังกันหรือไม่ วันพรุ่งนี้ก็จะได้รู้กัน…
กรณีการแย่งกันอ้างสิทธิ์ เหนือประสาทพระวิหารและพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. ระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ต่อเนี่องยาวนาน มาตั้งแต่ ปี 2505 ถึงขนาดเกิดความขัดแย้งบานปลาย กลายเป็นการปะทะกันตามแนวชายแดน ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่อาศัยตามแนวชายแดนของทั้ง 2ประเทศ รวมถึงสร้างความตึงเครียดให้กับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งหมดเกิดขึ้น หลังจากความพยายามของกัมพูชาประสบความสำเร็จ ในการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงผู้เดียว ในปี 2551
ต้องยอมรับว่า ฝ่ายไทยในสมัย นายนพดล ปัทมะ ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ยินยอมให้กัมพูชา ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว นับเป็นจุดเริ่มต้นความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชารอบใหม่ ที่ชัดเจนที่สุด
เนื่องจากภายหลังไทยไม่ยอมรับการทำหนังสือของนายนพดล โดยศาลไทยได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการทำข้อตกลงฉบับนี้ เพราะไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ผิดกฎหมาย รธน.มาตรา 190 ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชาเป็นอย่างมาก และคงดึงดันที่จะเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารแต่เพียงผู้เดียว ทำให้ไทยที่ถือตัวว่าเป็นเจ้าของพื้นที่ทับซ้อน จำนวน 4.6 ตร.กม. เสี่ยงที่จะสูญเสียอธิปไตยของชาติ ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา จึงปะทุขึ้นและลุกลามใหญ่โต จนถึงปัจจุบัน
การที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) รับขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกที่กัมพูชาเสนอ และมีการพิจารณาแผนบริหารจัดการพื้นที่ประสาทพระวิหาร โดยไม่ฟังการทัดทานจากไทยนั้น ทำให้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทย ต้องตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว ประกาศถอนตัวจากสมาชิกมรดกโลกไป เพื่อเป็นการประท้วงที่องค์การยูเนสโก ไม่รับฟังคำร้องจากไทย ที่ทำให้ประเทศมีความเสี่ยงจากการสูญเสียพื้นที่ ทั้งหมดคือความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
ขณะที่ประเด็นสำคัญ ที่ต้องจับตาของการตัดสินของศาลโลกในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค. นี้ คือเรื่อง "เขตแดน" ที่แฝงมาในคำขอของกัมพูชา ว่าศาลโลกจะแสดงจุดยืนในเรื่อง "เขตแดน" และ "ขอบเขต" อย่างไร ?
ทั้งนี้เป็นได้ 3 แนวทาง ทางแรก ศาลอาจปฏิเสธคำขอข้อแรกโดยสิ้นเชิง จะด้วยเหตุผลว่า ศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเขตแดนหรือด้วยเหตุผลอื่นที่ฝ่ายไทยอ้าง เช่น ประเด็นเขตแดนในปัจจุบัน ต้องว่าไปตาม MOU พ.ศ. 2543
การที่ศาลโลกได้ดำเนินการให้เจ้าหน้าที่แก้ไขคำแปลผิด จากคำว่า "boundary" (เขตแดน) มาเป็น "limit" (ขอบเขต) นี้ ถือเป็นสัญญาณที่ดี ว่าศาลให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวที่ไทยต่อสู้ไว้
ทางที่สอง ศาลอาจมีคำสั่งเป็นการทั่วไปตามที่กัมพูชาขอ โดยอาจสั่งโดยไม่อธิบายว่า "พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร" ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา คือพื้นที่ใด ซึ่งแม้จะไม่ชัดเจน แต่ก็เป็นความคลุมเครือ ที่กัมพูชาอาจนำมาใช้อ้างต่อได้
ทางที่สาม เป็นซึ่งน่ากังวลที่สุด และไม่น่าจะเป็น คือ ศาลอาจอ้างถึงข้อเท็จจริงหรือเอกสารบางอย่าง เช่น MOU พ.ศ. 2543 และกล่าวโดยตรงหรือโดยอ้อมในทำนองว่า "พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร" ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา อาจเกี่ยวข้องกับเอกสารหรือแผนที่ดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นการตีความกฎหมายที่สุ่มเสี่ยงเรื่องเขตแดน
ส่วนศาลโลกอาจมีคำสั่งในวันที่ 18 ก.ค. เป็นได้ 3 แนวทาง ทางแรกศาลมีคำสั่งระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราว (อาจสั่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนตามที่กัมพูชาร้องขอ) ซึ่งไทยต้องปฏิบัติตามคำสั่งทันที และศาลยังพิจารณาต่อไปในส่วนคำร้องที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษา ซึ่งไทยอาจต้องใช้เวลาสู้คดีต่อไปถึง พ.ศ. 2555
ทางที่สอง ศาลยกคำร้องกัมพูชาในส่วนมาตรการคุ้มครองชั่วคราว คือ ศาลปฏิเสธคำขอให้ระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราวทั้งสามข้อ แต่ศาลยังดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในส่วนการตีความคำพิพากษา ซึ่งอาจดำเนินต่อไปถึง พ.ศ. 2555 เช่นกัน
และทางที่สาม ศาลยกคำร้องกัมพูชาทั้งหมด คือปฏิเสธคำขอทั้งสามข้อ พร้อมทั้งมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษาทั้งคดี หมายความว่าไทยประสบความสำเร็จ ส่งผลให้ไทยและกัมพูชาต้องกลับเข้าสู่กระบวนการเจรจาต่อไป
คงไม่ต้องตอบว่า ประเทศไทยอยากให้ศาลโลกมีคำพิพากษาออกมาในทิศทางใด นั่นคือแนวทางที่ 3 แต่จะเป็นอย่างที่ทุกคนคาดหวังกันหรือไม่ วันพรุ่งนี้ก็จะได้รู้กัน…
ùù
未经允许不得转载:综合资讯 » ลุ้น!คดี ‘พระวิหาร’ ไทยต้องเสียดินแดนอีกหรือไม่?